Image credit: Grab, Facebook page

Flexibility, but not security, in Thailand’s platform economies

เศรษฐกิจแพลตฟอร์มจากมุมมองของแรงงานในประเทศไทย

ฉบับภาษาไทยอยู่ข้างล่าง

Thailand’s junta has expressed interest in promoting platform economies—such as Uber and Airbnb—as part of its “Thailand 4.0” digital economy strategy. Yet the government lacks fundamental understanding of how these economies operate, not to mention to the potential effects of nurturing them.

Platform economies sustained by mobile workers are rapidly replacing traditional modes of employment characterised by first, a fixed contracts which clearly specify the place of employment and second, laws that define the relationship between employer and employee. Platform workers have neither a fixed employer or workplace. Nor does the law necessarily protect the rights of labourers in these economies.

The Platform Economy and its Impact on Service Workers: Case Studies from Thailand examines experiences of these protective gaps by service workers from Uber, room-owners from Airbnb and cleaners from the cleaning-service platform BeNeat. We use ‘platform economies’ instead of the other popular term ‘sharing economy’, agreeing with the critical theorists that sharing is a misnomer. Using ‘platform’ highlights issues of ownership, rights over data, as well as the power of the online platform owners.

In the case of Uber, we found that some 58% of drivers in Chiang Mai drive for supplementary income, on top of other occupations. A significant portion of these service workers were retired, near the age of retiring or were not part of Thailand’s formal economy (for example, maids or the infirm recovering to re-enter the labour market). These demographics are in line with research from other countries which has found that platform economies assist individuals otherwise barred from accessing employment in seeking an income (for example, migrant workers, those without education qualifications, those with caring duties, and seniors).

But simultaneously, research from abroad tells us that work facilitated by digital platforms tends to be temporary, low-income and piecemeal. The instability under which platform service workers live has fed worries from labour organisations that Uber and Grab Taxi drivers are working under conditions that do not meet international standards—for example, that they do not access social benefits and healthcare—and which are not covered by labour laws. The state of ‘digital labourers’ is one of ambiguity: while they operate under the management of a business, that business defines its workers as ‘contractors’ or ‘freelancers’.

In other words, platform economies are expanding the informal economy exponentially. Modes of employment are systematically shifting towards a model where hours worked and rates of remuneration are mainly defined by market demand.

Contrary to arguments that platform economies ‘democratise’ markets, Airbnb, a platform that links home-owners with short-term renters across the world, provides in Thailand a sustainable source of income only for individuals who are already well-established in real-estate. Only 17% of the hosts we interviewed used Airbnb as their main source of income, and these hosts had previously been making a steady income from renting out real-estate already (though they reported that they were making higher earnings through the app). Hosts in this group tended to simultaneously own multiple properties in upscale areas that are easily accessible and close to tourist spots.

Yet despite this restricted distribution of benefits, we encountered several Thai Uber drivers who reported that the flexibility of work hours had allowed them to either earn enough income from driving to resign from their other jobs, or to transition into another profession where driving is their main source of livelihood. How do we explain their optimism?

We propose that high incomes from Uber in Thailand are specific to the early stages of the platform’s inception into the country. This is a period characterised by rapid growth whereby transnational platforms such as Uber are able to subsidise operations in one region through profits made in another country (raising questions about fair competition). The issue here is that job insecurity may not be perceptible in the short term, meaning that labourers enter the digital economy with an incomplete understanding of what they are getting themselves in to.

Indeed, this imperceptible insecurity flows to workers in industries outside platform economies. The growth of Airbnb has had a palpably negative impact on employees in the hotel industry and other traditional forms of accommodation. Local hotels that are now competing with Airbnb regularly respond by dismissing permanent employees in favour of seeking temporary and contract workers to reduce operation costs.

Via Flickr user Ronn Aldaman, used under Creative Commons licence.

Last orders in Bangkok

The creativity, informality, and disorderliness of Bangkok's street vendors couldn't survive the junta's impulses for social control.

Simultaneously, consumers accustomed to the Airbnb format are demanding more services from accommodations (for example, the building of a personal connection between the host and guest). We found, however, that even Airbnb hosts are unable to meet the expectations of guests on their own, and spend on average the equivalent of a day’s worth of low-wage earnings (approximately 300 baht) per guest hiring other workers to perform services such as cleaning and delivering/recovering keys.

How many of the service workers employed in the micro-economies revolving around maintaining Airbnb rooms are also among those affected by the downturn in traditional accommodation industries? It’s difficult to say, but we know that the Airbnb facilitates work that is insecure and determined primarily by fluctuations in the consumption side. As it is with Uber, market fluctuations are borne most heavily by workers in the digital economy, compared to traditional employment models where the business owner is most responsible to market risk.

BeNeat, a Thai application that connects users to cleaners, was of interest to us for three reasons. First, the cleaning industry exists in symbiosis with the accommodation industry described above. Second was the gendered element, whereby a sizeable portion of professional cleaners in Thailand are women from low-income families. The industry also draws significant numbers of migrant workers with limited bargaining power and who are at enhanced risk of exploitation. The third interest related to the demographics who employ cleaners: middle-class individuals eager to shift the burden of housework to the working class. BeNeat as an application provides particularly rich terrain for a study of the bargaining and human rights abuses faced by labour—how platforms facilitate this exploitation, and how women and migrant workers bear the brunt of it.

Cleaners who are barred from full-time work for a variety of conditions regard BeNeat as an alternative employment channel. But flexibility comes with higher operating costs for the worker: fees to BeNeat for connections to clients, self-funded cleaning equipment and transport costs. BeNeat’s screening process, which screens a prospective cleaner’s criminal record and requires a local bank account, builds barriers rather than democratises migrant worker access to work.

Lost also is transparency. The platform’s mechanism for distributing work to cleaners is opaque, and cleaners appear to have no right to know the factors and process determining the work to which they are assigned.

การจ้างงานแบบดั้งเดิมและแรงงานในความหมายเก่ากำลังถูกแทนที่อย่างรวดเร็ว ภายใต้แรงขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม

รูปแบบงานแบบดั้งเดิมที่แรงงานเคยมีสัญญาจ้างแบบถาวร  สามารถกำหนดตัวนายจ้างและสถานที่ทำงานที่ชัดเจน และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและคนทำงานถูกนิยามในกรอบของกฎหมายแรงงาน กำลังถูกแทนที่ด้วยงานที่ไม่มีนายจ้างและสถานที่ทำงานแน่นอน และที่สำคัญ คนทำงานไม่ได้รับการคุ้มครอง “สิทธิแรงงาน”​ ตามกฎหมายประเทศที่ตัวเองทำงาน

รายงานวิจัย “เศรษฐกิจแพลตฟอร์มและผลกระทบต่อคนงานภาคบริการ กรณีศึกษาประเทศไทย” โดยเกรียงศักดิ์​ ธีระโกวิทขจรและอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ  ศึกษาประสบการณ์ในการทำงานของผู้ให้บริการอูเบอร์ เจ้าของห้องพักแอร์บีแอนด์บี และคนทำความสะอาดบ้านบนแพลตฟอร์มทำความสะอาดบีนีท (BeNeat) เผยให้เห็นสถานะของคนทำงานรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง และช่องว่างของความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ดังกล่าวกับการคุ้มครองของกฎหมาย

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม องค์กรไม่แสวงหากำไร ตั้งขึ้นโดย เกรียงศักดิ์​ ธีระโกวิทขจร  นักวิชาการและนักกิจกรรมด้านแรงงานที่ทำงานใกล้ชิดกับขบวนการแรงงานไทย ต้องการสร้างองค์กรที่เสนอคำอธิบายเรื่องการทำงานของระบบเศรษฐกิจ ชี้แนะข้อเสนอเชิงนโยบาย  เปิดบนสนทนาในประเด็นแรงงานในมิติใหม่ และให้ความรู้กับสังคม จากมุมมองของฝ่ายแรงงาน ซึ่งต่างจากสถาบันวิจัยและ Think tank ส่วนใหญ่ที่อนุมานมุมมองของทุน และไม่สามารถวิพากษ์การทำงานของระบบตลาดเสรีและนโยบายของรัฐ จากมุมมองเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม

รายงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก ทำการทบทวนวรรณกรรม ข้อถกเถียงเกี่ยวกับเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม และการตอบสนองเชิงนโยบายโดยรัฐบาลต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ​ และยุโรป และในส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเชิงลึกภาคบริการทั้งสอง โดยผู้วิจัยได้เน้นที่ประสบการณ์ สภาพการทำงานและความรู้สึกของคนทำงาน

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของอูเบอร์ นักวิจัยสังเกตพบว่า ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ผู้ขับรถมากกว่าครึ่ง ประมาณ​ 58% จากผู้ให้สัมภาษณ์​ 48 ราย ทำงานขับรถเป็นรายได้เสริม เพราะมีรายได้หลักที่มาจากการทำงานอื่น

ที่น่าสังเกตุก็คือ ผู้ให้บริการจำนวนไม่น้อยเป็นผู้เกษียณหรือใกล้เกษียณอายุการทำงาน  หรือผู้ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดแรงงานที่เป็นทางการ เช่น แม่บ้านที่มีภาระครอบครัว ต้องดูแลลูกที่ยังเล็ก หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและกำลังพักฟื้นเพื่อกลับเข้าสู่ตลาด

คนกลุ่มนี้ต่างรู้สึกว่าแพลตฟอร์มเช่น อูเบอร์​ สร้างความยืดหยุ่นให้พวกเขาได้ทำงานเพื่อหารายได้เสริม และลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวลงได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่พบว่าเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มนั้น เอื้อให้ผู้ที่โดยปกติถูกกีดกันหรือประสบกับอุปสรรคในการเข้าสู่งาน เช่น กลุ่มแรงงานอพยพ ผู้ที่ไม่มีวุฒิการศึกษา หรือคนที่มีภาระในการดูแลเด็กหรือผู้สูงอายุในครอบครัว ได้มีโอกาสทำงานและมีรายได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ข้อพึงสังเกตุที่สำคัญจากงานวิจัยในต่างประเทศคือ งานในโลกดิจิตอลแพลตฟอร์มมักเป็นงานชั่วคราว รายได้ต่ำ และในหลายกรณี เป็นงานที่ทำครั้งเดียวจบหรือเป็นรายชิ้น ขาดความมั่นคงในการทำงาน จึงทำให้เกิดความกังวลจากองค์กรด้านแรงงานในต่างประเทศว่า คนทำงานบนระบบแพลตฟอร์มอย่างเช่น อูเบอร์ หรือแกร็บแท็กซี่ ต้องทำงานในสภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐานแรงงานสากล และอยู่นอกเหนือจากการคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในภาพรวม ระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการ (informal economy) ขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรมกังวลเป็นพิเศษ คือ หนึ่ง การตกต่ำลงของมาตรฐานแรงงานและสภาพการทำงานของกลุ่มคนทำงานใหม่ ที่เรียกว่า “แรงงานดิจิตอล”​ สอง  ความคลุมเครือในสถานะของคนทำงาน ที่ในทางปฏิบัติ ยังคงตกอยู่ภายใต้สภาพบังคับของบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มอย่างเช่นอูเบอร์​ แต่นโยบายของบริษัทเหล่านี้ กลับนิยามให้คนทำงานเป็น “ผู้รับจ้าง (contractor)” หรือ “ผู้ประกอบการอิสระ”

ทั้งสองประเด็นนี้ เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการทำความเข้าใจประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานของแรงงานดิจิตอลในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรูปแบบการทำงาน กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงรากในเชิงโครงสร้าง ในลักษณะที่เวลาและค่าตอบแทนการทำงาน ถูกกำหนดจากความต้องการบริโภคในตลาดเป็นหลัก

ผลการศึกษาที่น่าสนใจอีกประเด็น คือ ผู้ให้บริการขับรถในแพลตฟอร์มอูเบอร์บางรายตอบว่าพวกเขาสามารถสร้างรายได้มากพอที่จะเปลี่ยนงานหรือออกจากงานประจำที่ทำอยู่ และหันมาขับรถเป็นอาชีพหลัก เพราะพวกเขาสามารถเลือกเวลาทำงานได้เอง

ในประเด็นนี้ นักวิจัยของสถาบันฯ ตั้งข้อสังเกตว่ารายได้ที่สูงของผู้ขับอูเบอร์ในระยะเริ่มต้นนั้น อาจมาจากการเติบโตของแพลตฟอร์มอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลจำเพาะบางประการ เช่น หนึ่ง มีอำนาจครอบงำเหนือตลาดและ/หรือมาจากการอุดหนุน (subsidy) ของบริษัทข้ามชาติอย่างเช่นอูเบอร์ ที่ดำเนินการในสเกลระดับโลก ทำให้สามารถโยกย้ายผลกำไร จากธุรกิจในสถานที่หนึ่งมาอุดหนุนธุรกิจในระยะเริ่มต้นในอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งนำไปสู่คำถามเรื่องการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม

นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดในระดับท้องถิ่น ในลักษณะที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในอาชีพที่สูงขึ้นในระยะยาว ความซับซ้อนของผลกระทบนี้ก็คือ มีความเป็นไปได้ที่แรงงานในตลาดแรงงานจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการตัดสินใจเปลี่ยนงาน เพราะความมั่นไม่คงนี้อาจยังไม่ปรากฎให้เห็นในระยะสั้น

สำหรับแพลตฟอร์มที่สองคือ แอร์บีแอนด์บี  ที่มีขอบเขตการดำเนินงานในระดับข้ามชาติ เช่นเดียวกับอูเบอร์ ให้บริการจับคู่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าห้องพักทั่วโลกนั้น มีความเกี่ยวพันกับตลาดแรงงานในหลายระดับ กล่าวคือ ประการแรก การเติบโตของธุรกรรมบนแพลตฟอร์มแอร์บีแอนด์บี ส่งผลกระทบด้านลบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักแบบดั้งเดิม ซึ่งยังส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ต่อไปยังการจ้างงานภายในอุตสาหกรรมดังกล่าวในระดับท้องถิ่น กล่าวคือ ทำให้ธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันของแอร์บีแอนด์บีตอบสนองด้วยการเลิกจ้างพนักงานประจำลง และหันไปจ้างพนักงานแบบชั่วคราวแทน เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการให้สามารถแข่งขันได้

ประการที่สอง  ขณะเดียวกัน การเติบโตภายในตลาดที่พักแบบแพลตฟอร์มทำให้เกิดความต้องการบริการต่อเนื่องจำนวนมาก  ไม่ใช่เพียงในด้านพนักงานทำความสะอาด ซักอบรีด แต่รวมถึงการบริหารห้องพัก เช่น การส่งมอบและรับคืนกุญแจ การประสานกับผู้เข้าพักและอื่นๆ ที่กลายเป็นตลาดเกิดใหม่ ที่ยังคงต้องการองค์ความรู้และการฝึกอบรม

เช่นเดียวกับกรณีของแพลตฟอร์มอูเบอร์ สถาบันฯ​ มีความกังวลในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานและสิทธิแรงงาน คือ การขยายตัวของแอร์บีแอนด์บี อาจทำให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอิสระ ที่รวมทั้งเจ้าของห้องพัก และผู้ให้บริการต่อเนื่องต่างๆ ที่ความมั่งคงในการทำงานถูกนำไปผูกอยู่กับความผันผวนของอุปสงค์และอุปทานของตลาดที่พัก

จากการศึกษาผู้ที่นำที่พักเสนอให้เช่าผ่านแพลตฟอร์มแอร์บีเอ็นบี 41 ราย กล่าวคือ กรุงเทพ  21  รายและเชียงใหม่ 20 ราย ผู้วิจัยพบว่าแอร์บีเอ็นบีสร้างรายได้และโอกาสในการประกอบอาชีพหลายลักษณะ โดยเฉพาะ การสร้างรายได้จากที่พักในเชิงพาณิชย์ของผู้เสนอที่พักให้เช่า และการสร้างโอกาสใหม่ในการจ้างงาน

ประมาณ 17% ของผู้ให้ข้อมูล (กรุงเทพ 5 ราย และเชียงใหม่ 2 ราย) เปิดเผยว่ามีรายได้จากการให้เช่าที่พักเป็นรายได้หลัก ผู้เสนอให้เช่าที่พักเหล่านี้มักมีจำนวนที่พักที่เสนอหลายแห่ง และอยู่ในทำเลที่ดี ง่ายต่อการเดินทางและอยู่ในพื้นที่ที่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อเทียบกับโรงแรมที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน กลุ่มนี้ที่รายได้จากแอร์บีเอ็นบีเป็นรายได้หลัก มีรายได้หลักจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวเป็นรายเดือนอยู่ก่อนแล้ว การเปลี่ยนมาให้เช่าที่พักรายวันผ่านแอพพลิเคชั่นแอร์บีเอ็นบี เพิ่มโอกาสในการทำรายได้ที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ให้ข้อมูลอื่นๆ หรืออีก 83% มีรายได้จากแอร์บีเอ็นบีเป็นรายได้เสริม และมีอาชีพหลากหลาย เช่น ลูกจ้างบริษัท อาชีพอิสระ ผู้สูงวัยที่เกษียณอายุ และผู้ว่างงาน กลุ่มนี้ยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวในกรณีที่เปิดให้เข้าพักในบ้านหลังเดียวกันแลกเปลี่ยนกับรายได้เสริมในแต่ละเดือน

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้เสนอให้เช่าที่พักรายวันเหล่านี้ต้องการบริการเสริม ที่ตนไม่สามารถทำทุกอย่างด้วยตัวเอง  เช่น การทำความสะอาดห้องห้องพัก, ซัก เปลี่ยนผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน รวมถึงบริการเฉพาะการส่งมอบกุญแจที่พัก (ที่ผู้ให้เช่าต้องจ่ายค่าบริการเท่ากับรายได้ขั้นต่ำต่อวันหรือประมาณ ​300 บาทต่อครั้ง) รวมทั้งงานประเภทใหม่ เช่น บริการเฉพาะการถ่ายภาพห้องพัก เพื่อใช้ดึงดูดลูกค้าในประกาศให้เช่าบนแพลตฟอร์มแอร์บีเอ็นบี เป็นต้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดใหม่นี้ จึงทำให้เกิดคำถามว่ามากน้อยแค่ไหน ถ่ายโอนมาจากและเป็นการสูญเสียงานในธุรกิจโรงแรมแบบเดิม เพราะกิจกรรมที่เกิดจากแอร์บีแอนด์บี ก่อให้เกิดงานแบบที่ไม่มีความแน่นอน และถูกกำหนดจากฝั่งของอุปสงค์หรือการบริโภคเป็นหลัก ประเด็นที่สำคัญคือ เช่นเดียวกับกรณีของอูเบอร์ งานเหล่านี้เป็นงานที่ผู้ทำงานกลายเป็นผู้แบกรับความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดและความเสี่ยงในการทำงานด้วยตนเอง ขณะที่ในรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิม เจ้าของธุรกิจเป็นผู้รับความเสี่ยงจากตลาดเป็นหลัก

ถึงแม้รายงานของสถาบันฯ ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสถิติในระดับภาพรวมของตลาดภายในประเทศ​ แต่ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้นำห้องพักเข้าให้บริการบนแพลตฟอร์มของแอร์บีแอนด์บี เผยให้เห็นถึงช่องว่างที่เด่นชัด ระหว่างกฎหมายท้องถิ่นที่ล้าสมัยในการกำกับดูแลธุรกิจโรงแรมและที่พัก กับรูปแบบธุรกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์แบบสามเส้า ระหว่างเจ้าของแพลตฟอร์มอย่างเช่นแอร์บีแอนด์บี ผู้เข้าพักและผู้นำห้องพักออกให้บริการ ที่ดูเหมือนว่าแอร์บีแอนด์บี จะเป็นฝ่ายกอบโกยผลกำไรไปเต็มที่ แต่กลับสามารถผลักภาระรับผิดชอบต่างๆ ไปให้กับผู้นำห้องพักออกให้บริการ ไม่ว่าในเรื่องความเสี่ยง ทั้งทางด้านธุรกิจและความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงการต้องรับผิดชอบภาระในการจัดการความขัดแย้งกับผู้ใช้บริการ

ในประเด็นเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยนั้น รายงานนี้ได้หยิบยกประเด็นใหม่จำนวนมากขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของชุมชนรอบข้าง เมื่อมีผู้เข้าพักแปลกหน้าจำนวนมากผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าออก โดยที่ชุมชนไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้เข้าพัก หรือความเสี่ยงของคนทำงานบริการ เช่น ในเรื่องการถูกล่วงละเมิดทางเพศ​จากผู้เข้าพัก หรือประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนเรื่องการประกันความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน ในกรณีที่ห้องพักนั้นอยู่ในอาคารชุดหรือคอนโด เป็นต้น

แพลตฟอร์มสุดท้าย ที่เป็นแพลตฟอร์มท้องถิ่นในประเทศไทย คือ บีนีท ที่ให้บริการจับคู่ผู้รับและผู้ให้บริการทำความสะอาดบ้านนั้น ถูกเลือกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ควบคู่กับแพลตฟอร์มการขนส่งและบริการที่พัก เพราะสถาบันฯ​เล็งเห็นว่าธุรกิจทำความสะอาด มีความสัมพันธ์กับสามบริบทที่สำคัญ กล่าวคือ หนึ่ง บริบทเรื่องธุรกิจท่องเที่ยวและการเติบโตของธุรกิจที่พักอย่างแอร์บีแอนด์บี ที่เพิ่งได้กล่าวไปแล้ว สอง บริบทของตลาดแรงงานที่คนทำงานทำความสะอาดจำนวนมาก เป็นผู้หญิง มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ และมีแนวโน้มที่จะเป็นแรงงานข้ามชาติ ที่มีอำนาจต่อรองต่ำและมักมีความเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบและละเมิดสิทธิ และสาม บริบทของสังคมอุตสาหกรรมและสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ชนชั้นกลางทำงานหนักและผลักภาระเรื่องการทำงานบ้านไปยังกลุ่มคนทำงาน ที่มาจากชนชั้นแรงงาน การศึกษาแพลตฟอร์มบีนีท จึงถูกกำหนดจากความห่วงใยที่จะศึกษาสองประเด็นหลักคือ หนึ่ง การเข้าถึงโอกาสการทำงานของผู้หญิงทำงานชนชั้นแรงงาน และ/หรือจากสมาชิกกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และสอง ประเด็นเรื่องอำนาจต่อรองและการละเมิดสิทธิของคนทำงานที่ถูกกำหนดจากแพลตฟอร์ม

ขณะที่ผู้ให้บริการทำความสะอาดที่มีข้อจำกัดในการทำงานเต็มเวลา พบว่า บีนีทเปิดโอกาสหรือทางเลือกในการทำงานให้กับพวกเขามากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นก็ต้องแลกมาด้วยต้นทุนบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์มเพื่อจับคู่กับผู้รับบริการ แต่ผู้ให้บริการยังคงแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยตนเอง เช่น อุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง งานวิจัยนี้ยังพบว่า แพลตฟอร์มบีนีทมีความโปร่งใสต่ำ เนื่องจากกลไกในการให้/รับงานถูกกำหนดจากเจ้าของแพลตฟอร์มเพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้ให้บริการก็ไม่มีสิทธิรับรู้ถึงเงื่อนไขและกระบวนการตัดสินใจ  นอกจากนี้ แพลตฟอร์มได้กำหนดระบบคัดกรองขั้นสูงเอาไว้ เพราะต้องผ่านขั้นตอบการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และผู้สมัครต้องมีบัญชีธนาคาร จึงเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงงานของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

ขณะที่ภาครัฐบาลไทยกำลังส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม อันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจดิจิตอล ภายใต้นโยบาย “ประเทศไทย 4.0” แต่ภาครัฐไทยยังขาดความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับกลไกการทำงานของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ยังไม่ต้องพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจรูปแบบใหม่นี้

More on Thailand

Women workers in Thailand’s caring economy

The critical need to change gender norms and recognise caring and reproductive labor.

From battlefield to marketplace on the Thai–Myanmar border

Thai–Myanmar relations are on the up. But what happens to the large and still-marginalised migrant communities in Thai border towns like Mae Sot?