Explaining the surprises and upsets of Thailand’s 2019 election

ฉบับภาษาไทยอยู่ข้างล่าง

The dramatic lead up to the election on 24 March 2019 appeared to exhaust Thai politics of the possibility for further surprises. Political contest was stiff between two poles—one wing which supported the coup-leader General Prayut Chan-ocha and the other opposed to dictatorial power—each backed by a large enough popular base that it was difficult to predict who would ultimately enjoy a majority in the legislative assembly.

A changed political landscape

While the Election Commission has yet to officially confirm the results of the March election, preliminary vote-counting based on 94% of ballots has already given rise to astonishment. The Democrat Party has been resoundingly rejected in its former strongholds. Pheu Thai experienced less electoral success than anticipated. Two new parties received voter support exceeding all expectations: Palang Pracharat and Future Forward. The unprecedented nature of the election can be captured briefly:

  • Many sources predicted that in this election, Pheu Thai would receive win approximately 200 seats. The results so far fall considerably short of those estimations: only 137 constituency seats and no party list seats at all. The number of seats controlled by Pheu Thai in Isaan, the party’s voter stronghold, fell from 104 to 84 in the last election. Total votes received by Pheu Thai plummeted dramatically, from 15,744,190 to 7,920,630—less than Palang Pracharat, which received the largest share at 8,433,137 votes.
  • The failure of the Democrat Party at the polls was unprecedented. The Democrat Party is Thailand’s oldest political party. It has achieved high levels of institutionalisation. Until now, it commanded arguably the country’s most loyal network of party members, with a stable, middle-class voter base in Bangkok and various other cities across the country. It consistently enjoyed a majority of support in the South of Thailand. This election, however, the Democrat Party met a landslide defeat. In Thailand’s last election in 2011, the Democrat party received the second highest share of votes and 159 seats. This election, its share of votes (3,927,726 votes) dropped to fourth place, leaving it set to receive some 50 or so seats from both constituencies and the party list. This is an even poorer showing than its previous low point, in 2005 when it received 96 seats, a result that induced then party leader Banyat Bantadtan to step down.
  • Most unexpected were the Democrat Party’s losses in past voter strongholds in Bangkok and the south of Thailand. The party lost in all Bangkok constituencies, in comparison to victories in 23 out of 33 constituencies in 2011. This election, it won in only 22 constituencies in the south, a drop from 50 out of 52 constituencies in the last election. Several well-known Democrat MP candidates who had controlled their constituencies for decades were made to hand over their seats to Palang Pracharat or Future Forward, such as Warong Dechgitvigrom and Abhisit Vejjajiva. A number of the party’s “rising stars” also met defeat, such as Surabot Leekpai (the son of former prime minister Chuan Leekpai) and Chitpas Kridakon (a former face and leader of the People’s Democratic Reform Committee movement). All these losses represent the most crushing defeat in the recent history of an old and established political party.
  • The electoral success of parties who support the military government, such as Palang Pracharat, exceeded expectations that they would receive less than 100 seats—a prediction that had been fuelled by a tide of dissatisfaction with the military in the months immediate preceding the election. As it turned out, Palang Pracharat received 116 constituency seats, taking over former Democrat strongholds in both Bangkok and the south. Palang Pracharat received the largest share of the popular vote (8,433,137 votes).
  • The most interesting development was the success of the progressive Future Forward Party, which ran on a policy platform opposed to the continuation of the NCPO’s rule and openly in favour of military reform. It was expected that the party would receive no more than 50 party list seats and no constituency seats at all (at most, it was thought the party would win in 3–5 Bangkok constituencies). The result instead was an electoral breakthrough: Future Forward will receive an estimated 80 seats—a combination of 50 party list seats and 30 constituency seats. The party received the third-highest share of the popular vote (6,265,950), overtaking the old and established Democrat Party.

This piece proposes three key explanations for the 2019 election’s surprise results, which are:

  1. An electoral system designed to undercut large political parties such as Pheu Thai and the Democrat party, but which had the result of advantaging middle-sized parties such as Future Forward
  2. The misguided campaign strategies of older political parties such as the Democrat party and Pheu Thai, who bound themselves to existing voter strongholds but failed to expand these to encompass new voter demographics.
  3. Shifts in the demographics of voters, including the emergence of a new generation of first-time voters who came out in support of parties explicitly opposed to military rule such as Future Forward but turned their backs on parties who were previously representatives of the middle-class such as the Democrats.

Pheu Thai’s disappointment

The drop in votes for Pheu Thai, which had dominated preceding elections with very little close competition, resulted from (1) the success of the junta or traditional elites in undercutting the power of Pheu Thai by designing a constitution which reduced the chances of a large political party achieving a landslide victory (2) the party’s efforts to maintain a lower-middle class voter base, which placed limitations on its ability to expand its voter base to encompass new demographics. I forego discussion of this second point until the second half of this article.

Parties with strong voter bases across several territorial constituencies were highly disadvantaged by the design of a new electoral system that bound votes for constituency MPs with the computation of party list seats. Voters exercised the right to select their preferred MP in their constituency, a vote which would simultaneously count in the allocation of party-list seats—the number of constituency seats received by a party is subtracted from the number of party-list seats that party should theoretically receive in proportion to the popular vote. In other words, if a party were to receive a high number of constituency seats, that success would simultaneously entail a deduction from its party list seats.

The result was that Pheu Thai received 137 constituency seats in the preliminary tally, but will not receive any party list seats at all (because the number of constituency it received will have exceeded the quota of party list seats it should theoretically receive in proportion to the popular vote). One consequence is that all the party’s central leaders (who chose to run on the party list) will fail to make it into parliament, from the first-ranked prime ministerial candidate Khun Ying Sudarat Keyuraphan, to party secretary-general Phumtham Wechayachai, to former ministers Sanoh Thienthong, Chalerm Yubamrung, Plodprasop Suraswadi, Kittiratt Na-Ranong, Pongthep Thepkanchana, Noppadon Pattama, Ladawan Wongsriwong among others.

While Pheu Thai foresaw the disadvantages that the new electoral system would bring, its precautions proved inadequate. The party tried to compensate through the establishment of affiliate parties such as Thai Raksa Chart, both to boost the chances of receiving party list seats and to mitigate the consequences of potential party dissolution. The tradeoff of such a strategy, however, was that Pheu Thai fielded candidates in only 250 consequences to prevent competition within its party network. When Thai Raksa Chart was dissolved, Pheu Thai forfeited votes to other parties that it would have received in the 100 constituencies where it did not field candidates.

Democrats defeated  

The defeat of the Democrat Party was, much as in the case of Pheu Thai, partially the result of party leaders miscalculating the conditions laid down by the electoral system established in the 2017 Constitution. While the new system has the tendency to reduce the number of party-list seats received by large political parties in comparison to past systems, the Democrat Party still elected to field a number of prominent politicians in the party list. As a result, a group of Democrat politicians have been excluded from parliament, even though they would have likely enjoyed victories in their constituencies.

A factor even more important than the party’s misevaluation of the electoral system, however, was its misguided campaign strategy. Over the past decade, the Democrat Party has chosen methods for mobilising its voter base which have departed from its older history. It is sometimes forgotten that prior to the last decade, the Democrats mobilised its supporters by promoting the message that democracy and elections are a tool for triumphing over political rivals.

But during the “yellow–red” political conflict of the past 10 years, the Democrats under the leadership of Abhisit Vejjajiva changed course in search of an undemocratic path to power, drawing a connection between the party and powers outside of the constitution to both build up the former’s legitimacy and undermine political competitors such as Thaksin Shinawatra and Pheu Thai. The Democrats chose to clasp hands with conservative movements opposed to Thaksin, whether they campaigned against the holding of elections, were nationalist, conservative or royalist, and even if they called upon the military to intervene to deal with “the Thaksin regime”.  In 2008, the party was content to form government with the support of the military.

All of these actions affected the ideology and political beliefs of the Democrat party’s loyalists and popular base: the campaigns to build fear of “the Thaksin regime” and the party’s acceptance of the military’s political power encouraged those the party’s supporters to believe that Thaksin is a menacing political threat, which no force is better equipped to overcome than the military.

Yet in the final period of campaigning this year, Abhisit made a fundamental reversal by announcing his refusal to enter into a governing coalition with General Prayut Chan-ocha as prime minister (though he did qualify that this was a purely personal standpoint which did not amount to a party resolution, and that he would not necessarily reject co-operation with Palang Pracharat if the latter did not insist on Prayut as prime minister. Abhisit’s decision to turn his back on military power (at least to some degree) likely stemmed from the tide of public opinion turning against Palang Pracharat in the lead-up to polling, as well as an attempt to expand the party’s popular base to include younger voters dissatisfied with the military regime.

The reversal, however, ultimately made a substantial contribution to the Democrat Party’s defeat at the polls. The party’s popular base—which has for years been made to believe that the military alone can eradicate Thaksin and bring peace to the country’s politics—abandoned their loyalty, evolving into strategic voters who filled their ballots in support of military parties such as Palang Pracharat. Meanwhile, young voters dissatisfied with the NCPO remained unconvinced by the Democrat Party’s wavering stance towards military rule, and so chose to support parties with a more explicit stance against the prolonging of the NCPO’s power, such as Future Forward and Pheu Thai. One clear example was the constituency of Rangsit, characterised by a large population of students due to its proximity to a university. There, Future Forward earned a majority of the popular vote, followed by Pheu Thai.

Constituencies in Bangkok and the south show well the abandonment of the Democrat Party by its loyalists—these were the strongholds of both life-long Democrat supporters and the key territorial bases of movements against Thaksin. Over and over, these groups, under the guidance of the Democrat Party, had supported the military’s intervention in politics to deal with Thaksin and forestall elections. Their abandonment resulted in the party losing in every Bangkok constituency. Particular surprising were several districts in inner Bangkok which fell to Palang Pracharat, despite having been reliable bases of support for the Democrats for 30–40 years. In inner city constituencies such as those in Pranakorn, Pathumwan, Bangluk, Dusit and Watttana, prominent former democrat MPs including Jermmas Junglertsiri and Orn-anong Karnjanachoosak all lost to Palang Pracharat candidates.

Future Forward’s electoral breakthrough

The immense success of Future Forward Party was partially the result of both the new electoral system and the dissolution of Thai Raksa Chart. But most decisive was the expansion of a mass of first-time voters desiring a new political option, who had not embroiled themselves in the political divisions of the past decade. From the very beginning of campaigning, no other political party presented policies as targeted at this demographic or took new voters as seriously as Future Forward.

To a considerable degree, the new conditions laid down by the 2017 constitution benefited Future Forward Party. The party’s decision to field candidates in all 350 electoral districts aimed for access to a high number of party list seats through amassing votes from young voters (aged between 18–26 years) dispersed across and present in all constituencies across the country. But Future Forward was also able to pick up constituency seats in a number of districts where Pheu Thai didn’t field a candidate and where the Thai Raksa Chart candidate stood down due to the party’s dissolution (among others constituency 1 and 2 in Samutsakorn and constituency 3 in Nakorn Prathom). In several districts, former Thai Raksa Chart candidates urged their supporters to vote for Future Forward instead. The cumulative result of all these factors was victories for Future Forward in some 30 districts, a dramatic rise from predictions that the party would receive no more than 5 constituency seats (all which were expected to come from Bangkok).

But in its own right, Future Forward experienced great success in mobilising support and votes from first-time voters, who comprised approximately 8 million out of 51 million eligible voters (collectively enough to win some 100 constituency seats). It was able to win in some districts where there were Pheu Thai candidates fielding, such as districts 1 and 6 in Chiang Rai, district 4 in Samutprakarn, district 1 in Khon Kaen, and district 1 in Prathumthani. From the party’s inception, the party made clear that its aim was to mobilise this particular group, through policies that no major party had ever attributed importance: the abolition of military conscription, the promotion of LGBT rights and decentralisation. This is not to mention Future Forward’s explicit opposition to “old politics” and clear standpoint against the NCPO, which spoke directly to young voters dissatisfied with military rule.

Where Future Forward made being anti-establishment cool and modern, no other political party attributed importance to winning over young voters for at least two reasons. First, most parties already had fairly reliable voter bases, whether based on political ideology or territorial dimensions. On the pro-democracy side, the policies of Pheu Thai, Thai Raksa Chart and Seri Ruam Thai were largely intended to appeal to a base of voters who were likely already inclined to choose them. Meanwhile on the other side in favour of a military regime, the People’s Reform Party, Phalang Pracharat and the Action Coalition for Thailand all sought votes among former members of the PDRC, the People’s Alliance for Democracy (PAD) and other conservative demographics.

We simply did not see established parties make concerted changes in their campaigning to appeal to young voters. For example, in the final days of campaigning, Pheu Thai released its “savings lottery scheme” (whereby the purchase of state lottery tickets would simultaneously constitute personal savings deposits). While the popularity of the lottery in Thailand meant that the policy had potential to draw considerable public support, that support was unlikely to come from young voters, but from the lower middle-class who compromise the party’s existing popular base. This final campaign push reflected the continued orientation of Pheu Thai’s campaigning around the same voter base that had propelled the party to landslide victories over the past 10 years: the lower middle-class, whether those in the agricultural sector, other rural demographics or the urban poor.

The second reason established political parties hesitated to release policies aimed at new voters was the simultaneous risk this posted to their existing voter base. Campaigning on a policy platform and adapting one’s communication strategies to appeal to young demographics would have involved a significant investment in terms of both time and resources, while involving a high risk of alienating former supporters. Most parties put forward relatively safe policies that would maintain their existing popular base, without touching upon new issues. And indeed, the failure of the Democrat Party at the polls represented one attempt by an established party to wade into uncharted territory in the final days of campaigning—through the expression of opposition to conscription and the tentative indication that it would not form a governing coalition headed by General Prayut. In the end, the party’s gamble became the party’s undoing in its long-standing strongholds.

ก่อนการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 การเมืองไทยได้เผชิญกับเรื่องราวต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขับเคี่ยวกันอย่างสูสีทางการเมืองระหว่าง 2 ขั้วอำนาจซึ่งแต่ละฝ่ายมีฐานมวลชนสนับสนุนมากมาย ทั้งในปีกที่สนับสนุนให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร กับฝ่ายต่อต้านอำนาจเผด็จการ จนยากจะคาดเดาได้ว่าฝ่ายใดจะสามารถกุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้

โฉมหน้าใหม่ของภูมิทัศน์การเมืองไทย

แม้ว่าจะยังไม่มีการรับรองผลอย่างเป็นทางการโดยกกต. ผลการเลือกตั้งที่ออกมาได้สร้างความประหลาดใจขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความพ้ายแพ้ของพรรคพรรคประชาธิปัตย์ และคะแนนเสียงที่ได้น้อยกว่าที่คาดของพรรคเพื่อไทย ตลอดจนถึงความสำเร็จเกินคาดของ 2พรรค ใหม่ อย่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ดังปรากฎการณ์ต่อไปนี้

  1. หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยควรจะได้ที่นั่งราว 200 แต่ผลที่ออกมาต่ำเกินคาดคือเพียง 137 ที่นั่งในส่วนของสส.เขต และไม่ได้สส.บัญชีรายชื่อเลยแม้แต่คนเดียว ในภาคอีสานซึ่งเป็นฐานคะแนนใหญ่ลดลง จากเดิม 104 ที่นั่งกลายเป็น 84 ที่นั่ง ในขณะที่คะแนนเสียง popular vote ต่ำลงมากโดยได้รับเพียง 7,920,630 เสียง จากเดิมที่เคยได้ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วที่ได้ถึง 15,744,190 เสียง ซึ่งน้อยกว่าพรรคพลังประชารัฐซึ่งนำไปเป็นอันดับ 1 คือ 8,433,137 เสียง
  2. ความพ่ายแพ้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองที่เก่าแก่ มีความเป็นสถาบัน และมีเครือข่ายสมาชิกที่มีความภักดีต่อพรรคมากที่สุดของประเทศ ทั้งๆ ที่มีฐานเสียงมั่นคงของชนชั้นกลางทั้งในกรุงเทพและในตัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงคนส่วนใหญ่ภาคใต้ของไทย แต่กลับแพ้เลือกตั้งถล่มทะลาย ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 ได้สส.159 ที่นั่ง ส่วนการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาธิปไตยตกชั้นลงไปอยู่ที่พรรคอันดับ 4 เนื่องจากได้สส.รายชื่อรวมกับปาร์ตี้ลิสได้เพียง 52 ที่นั่ง ซึ่งน้อยกว่าครั้งที่ได้คะแนนเสียงต่ำที่สุดในการเลือกตั้งปี 2548 ซึ่งได้ 96 ที่นั่ง จนการพ่ายแพ้ในครั้งนั้นทำให้นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคในขณะนั้นต้องลาออกจากตำแหน่งผู้นำพรรค นอกจากนั้นเสียง popular vote ก็ยังตกต่ำมาก จนกลายเป็นเป็นอันดับ 4 ได้เพียง 3,947,726 คะแนน ที่ผิดคาดอย่างถึงที่สุดคือการที่ประชาธิปัตย์สูญเสียฐานเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนมายาวนานทั้งในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ของไทย พรรคประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งสส.เขต ทั้งหมดในกรุงเทพ จากเดิมที่ ได้ 23 ที่นั่งจาก 33 เขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว และได้เสียงเพียง 22 ที่นั่งในภาคใต้ จากเดิม 50 ที่นั่งจากทั้งหมด 53 ที่นั่ง นอกจากนั้นสส.ชื่อดังจำนวนมากของพรรคมี่ไม่เคยแพ้ใครมาหลายสิบปีกลับสอบตกให้กับทั้งพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่ เช่น หมอวรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตคู่แข่งผู้สมัครหัวหน้าพรรคที่แพ้ นายอภิสิทธิ์อย่างฉิวเฉียด หรือดาวรุ่งจำนวนมากก็แพ้เลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็น สุรบถ หลีกภัย ลูกชายชวน หลีกภัย .จิตภัสร์ กฤดากร อดีตดาวปราศัยของกปปส.แกนนำขบวนการต่อต้านทักษิณ ทั้งหมดนี้จึงเป็นการพ่ายแพ้ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของพรรคเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์
  3. ความสำเร็จที่มากเกิดเป้าหมายของพรรคสนับสนุนรัฐบาลทหารอย่างพลังประชารัฐ ที่ถูกประเมินว่าน่าจะได้ต่ำกว่าร้อยที่นั่ง โดยเฉพาะจากกระแสความไม่พอใจที่มีต่อทหารในช่วงหลายเดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง แต่ผลการเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐกับได้กลับได้สส.เขต ถึง 116 ที่นั่ง ยึดพื้นที่เดิมของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งในกรุงเทพ และหลายเขตในภาคใต้ และยังได้รับคะแนน popular vote นำไปเป็นอันดับ 1 คือ 8,433,137 เสียง
  4. ที่น่าสนใจที่สุดคือ ความสำเร็จและชัยชนะของพรรคใหม่หัวก้าวหน้า “พรรคอนาคตใหม่” ชูนโยบายต่อต้านการสืบทอดอำนาจเผด็จการคสช. การปฏิรูปกองทัพ และนโยบายก้าวหน้าอื่นๆ เช่น ประเด็น LGBT การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ฯลฯ จากเดิมที่ถูกมองว่าไม่น่าจะได้เกิน 50 ที่นั่ง และไม่น่าจะได้สส.เขตเลย อย่างมากก็ได้เพียง 3-5 ที่นั่งในเขตกรุงเทพ แต่ในทางกลับกันผลที่ออกมาคือ ชัยชนะถล่มทลาย อนาคนใหม่ได้สส.ทั้งสิ้น 80 ที่นั่งโดยได้สส.บัญชีรายชื่อ 50 คน และสส.เขตถึง 30 คน และได้เสียง popular vote สูงถึง 6,265,950 คะแนน เป็นอันดับ 3 แซงหน้าพรรคเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์ที่ได้เพียง 3,947,726  คะแนน

งานชิ้นนี้จะเสนอคำอธิบายปรากฎการณ์ข้างต้นผ่านกรอบสำคัญ 3 ประการคือ

  1. ผลของระบบเลือกตั้งที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายพรรคขนาดใหญ่ เช่น เพื่อไทย และประชาธิปัตย์ แต่กลับให้ประโยชน์กับพรรคกลาง โดยเฉพาะ อนาคตใหม่
  2. การเลือกยุทธศาสตร์ทางอุดมการณ์และการหาเสียงที่ผิดพลาดของพรรครุ่นเก่า เช่นพรรคประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ที่ผูกติดกับฐานเสียงเก่า และไม่สามารถขยายฐานเสียงไปถึงมวลชนกลุ่มใหม่ๆ
  3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและลักษณะประชากร โดยเฉพาะการเติบโตของคนรุ่นใหม่ ที่หันมาสนับสนุนพรรคที่ต่อต้านเผด็จการอย่างอนาคนใหม่ แต่หันหลังให้กับพรรคที่เคยเป็นตัวแทนของชนชั้นกลางอย่างประชาธิปัตย์

ผลงานต่ำกว่าเป้าของพรรคเพื่อไทย

การลดลงของคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยซึ่งเคยเป็นพรรคอันดับ 1 แบบที่ไม่มีใครสามารถแข่งได้มาโดยตลอด เป็นผลจากทั้ง ความสำเร็จของของคณะรัฐประหารหรืออำนาจเก่าในลดอำนาจของเพื่อไทย ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญให้ลดโอกาสในการชนะอย่างท่วมท้นของพรรคขนาดใหญ่ และจากข้อจำกัดในการรักษาฐานเสียงในกลุ่มชนชั้นกลางระดับล่าง ทำให้ไม่สามารถขยายฐานเสียงไปยังคนกลุ่มใหม่ๆ

การออกแบบระบบเลือกตั้งที่ผูกเสียงของสส.เขต และสส.บัญชีรายชื่อเข้าด้วยกัน โดยผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงมีสิทธิเลือกเพียง 1 ครั้งโดยเสียงจะถูกนับทั้งในส่วนของสส.เขต และสส.บัญชีรายชื่อ และการหักสส.เขตที่ได้รับออกจากจำนวนเสียงสส.ที่พึงได้หลังคำนวนจาก popular vote แล้ว ส่งผลให้พรรคที่มีฐานเสียงอยู่ในสส.เขตสูงอย่างเพื่อไทยเสียเปรียบเป็นอย่างมาก เนื่องจากถึงแม้ว่าจะได้รับคะแนน popular vote ที่ใช้คิดสส.บัญชีรายชื่อเยอะ แต่เสียงเหล่านั้นจะถึงหักออกโดยจำนวนสส.เขตที่ได้ ผลที่ออกมากคือ เพื่อไทยได้สส.เขต 137 ที่นั่ง แต่ไม่ได้สส.บัญชีรายชื่อเลย เนื่องจากจำนวนสส.เขตได้กินโควต้าของสส.ที่พึงได้แล้ว ทำให้ครั้งนี้ไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว ทำให้แกนนำพรรค “สอบตก” ไปทั้งหมดนับตั้งแต่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ภูมิธรรม เวชยชัย เสนาะ เทียนทอง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ปลอดประสพ สุรัสวดี กิตติรัตน์ ณ ระนอง พงศ์เทพ เทพกาญจนา นพดล ปัทมะ ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นต้น[i]

ถึงแม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะคำนึงถึงเหล่าปัญหานี้มาก่อนแล้ว และได้พยายามแก้เกมโดยการจัดตั้งพรรคสาขา เช่น การจัดตั้งพรรคไทยรักษาชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ สส.ในระบบบัญชีรายชื่อ และกระจายความเสี่ยงการถูกยุบพรรคไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม   การจัดตั้งพรรคสาขานี้ทำให้พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครสส.เขตเพียง 250 เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันกันเองในหลายๆ เขตเลือกตั้ง  แต่เมื่อพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบก็ทำให้พรรคเพื่อไทยสูญเสียงคะแนนเสียงทั้งหมดให้กับพรรคอื่นๆๆ ใน 100 เขต ที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งตัวผู้สมัคร

ความพ่ายแพ้ของประชาธิปัตย์

ความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการประเมินเงื่อนไขใหม่ของระบบเลือกตั้งและการนับคะแนนภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ผิดพลาดของพรรคประชาธิปัตย์เอง (เช่นดียวกับพรรคเพื่อไทย) ในขณะที่ระบบใหม่มีแนวโน้มทำให้พรรคขนาดใหญ่จะได้คะแนนเสียงบัญชีรายชื่อน้อยกว่าเดิมเมื่อเทียบกับระบบเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา แต่ประชาธิปัตย์กลับส่งนักการเมืองคนสำคัญๆ จำนวนหนึ่งลงสมัครในส่วนของบัญชีรายชื่อ ส่งผลให้อดีตนักการเมืองกลุ่มนี้ที่น่าจะชนะในระบบสส.เขตได้กลับสอบตกในแบบบัญชีรายชื่อในที่สุด

แต่ปัญหาสำคัญยิ่งกว่าการประเมินระบบการเลือกตั้งใหม่ผิดพลาดคือ ยุทธศาสตร์ในการระดมมวลชนของพรรค ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประชาธิปัตย์เลือกใช้วิธีการระดมฐานเสียงที่แตกต่างจากอดีต ก่อนหน้านั้นประชาธิปัตย์ระดมมวลชนผ่านการสร้างความเชื่อในกลุ่มผู้สนับสนุนว่า ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งคือเครื่องมือในการเอาชนะคู่แข่งทางการเมือง แต่ในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง “เหลือง-แดง” ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับหันไปหาแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและการอ้างอิงอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคและใช้กำจัดคู่แข่งทางการเมืองอย่างทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์เลือกจับมือกับขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณที่ชูแนวคิดอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ต่อต้านการเลือกตั้ง ชาตินิยม อนุรักษ์นิยม กษัตริย์นิยม การเรียกร้องให้ทหารเข้ามาจัดการกับ  “ระบอบทักษิณ” และยอมเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจทหารเป็นกองหนุน ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อฐานคิดและความเชื่อของฐานมวลชนและสมาชิกผู้จงรักภักดีของพรรค การรณรงค์สร้างความกลัวต่อระบอบทักษิณและการยอมรับอำนาจของกองทัพ ส่งผลให้ฐานมวลชนของพรรคเชื่อว่าทักษิณน่ากลัวมาก และไม่มีพลังทางการเมืองใดๆ ที่จะสามารถจัดการกับทักษิณได้ดีเท่ากองทัพ

การกลับลำของอภิสิทธิ์ในช่วงโค้งสุดท้ายต่อก่อนการเลือกตั้ง โดยประกาศว่าจะไม่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลหากมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้อภิสิทธิ์จะอ้างว่า จุดยืนดังกล่าวเป็นจุดยืนส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับมติพรรค แต่ไม่ปฎิเสธว่าจะร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ หากพรรคนี้ยอมไม่เอาพลเอกประยุทธ์เป็นนายก การที่คุณอภิสิทธิ์เลือกปฏิเสธอำนาจทหาร จากความตกต่ำของกระแสพรรคทหารในช่วงโค้งสุดท้าย และความพยายามในการขยายฐานมวลชนไปยังคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจระบอบทหาร ฯลฯ แต่ทั้งหมดนั้นส่งผลอย่างมากต่อความพ่ายแพ้ของพรรค

ฐานมวลชนที่เคยถูกทำให้เชื่อว่ากองทัพเท่านั้นที่สามารถกำจัดทักษิณและสร้างความสงบทางการเมือง ได้พากันละทิ้งความจงรักภักดีที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ และผันตัวเองไปเป็นผู้ลงคะแนนเชิงยุทธศาสตร์ (strategic voter) หันไปกาบัตรเลือกตั้งสนับสนุนพรรคทหารอย่างพลังประชารัฐ ในขณะที่มวลชนคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจในคสช.ก็ไม่ได้เชื่อมันในจุดยืนที่ไม่แน่นอนของพรรคที่มีต่อการกลับมาของทหารก็หันไปเลือกพรรคอื่นๆ ที่มีแนวทางต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.ที่ชัดเจนกว่า เช่น พรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคเพื่อไทย ตัวอย่างที่สะท้อนปัญหานี้ได้ดีคือ การหันหลังให้กับประชาธิปัตย์ของมวลชนกรุงเทพและภาคใต้ ที่เคยเป็นมวลชนผู้จงรักภักดีต่อพรรคประชาธิปัตย์ตลอดชีวิต (life-long Democrat supporter) และเป็นฐานมวลชนที่สำคัญที่สุดของขบวนการต่อต้านทักษิณ  หลายต่อหลายครั้งที่มวลชนกลุ่มนี้สนับสนุนการใช้อำนาจของกองทัพเข้าจัดการกับทักษิณและต่อต้านการเลือกตั้ง ตามการชี้นำในอดีตของพรรคประชาธิปัตย์

การละทิ้งพรรคของอดีตมวลชนเหล่านี้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งสส.เขตทั้งหมดในกรุงเทพ น่าตกใจมากที่เขตเลือกตั้งกรุ่งเทพชั้นในหลายๆ เขต ที่เป็นฐานที่มั่นของพรรคมาตลอด 30-40 ปี กลับถูกยึดโดยพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่พลังคนรุ่นใหม่ที่ต่อต้านคสช.ก็หันไปเลือกพรรคการเมืองปีกประชาธิปไตย เช่นพรรคอนาคตใหม่ ที่รณรงค์อย่างชัดเจนในแนวทางต่อต้านทหารมาตั้งแต่ต้น ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัด เช่นเขตรังสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาจำนวนมาก คะแนนเสียงของพรรคอนาคตใหม่มาอันดับ 1 และพรรคเพื่อไทยมาเป็นอันดับ 2

ชัยชนะของพรรคอนาคตใหม่

ความสำเร็จขนานใหญ่ของพรรคอนาคตใหม่เป็นผลจาก ทั้งระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ และการยุบพรรคไทยรักษาชาติ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การขยายตัวของมวลชนคนรุ่นใหม่ที่ต้องการทางเลือกใหม่จำนวนมากเพิ่งมีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และไม่เคยยึดโยงตัวเองเข้ากับบริบทความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ไม่มีพรรคไหนตั้งใจนำเสนอนโยบายและให้ความสนใจกับคนกลุ่มนี้อย่างจริงๆ จังมาตั้งแต่ต้นทางของการรณรงค์เลือกตั้งเท่ากับพรรคอนาคตใหม่ พรรคอนาคตใหม่ได้ประโยชน์จากเงื่อนไขใหม่ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 อย่างมาก การตัดตัดสินใจส่งผู้สมัครลงในทั้ง 350 เขตเลือกตั้ง สามารถระดมเสียงจากคนรุ่นใหม่ที่นิยมชมชอบพรรคที่กระจัดกระจายตัวอยู่ทุกเขตทั่วประเทศได้อย่ามากมายทำให้พรรคนี้ได้สส.ในระบบบัญชีรายชื่อจำนวนมมาก รวมทั้งยังสามารถชนะสส.เขตในพื้นที่ที่ไม่มีผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย และพรรคไทยรักษาชาติซึ่งถูกยุบไปก่อนการเลือกตั้ง ในหลายเขต อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติขอให้ฐานเสียงของตัวเองลงคะแนนให้กับพรรคอนาคตใหม่แทน ผลก็คือชัยชนะของพรรคอนาคตใหม่ในส่วนของสส.เขตที่สูงถึง 30 เขต จากเดิมที่ประมาณการกันว่าไม่น่าเกิน 5 เขตเฉพาะในกรุงเทพ

พรรคอนาคตใหม่ประสบความสำเร็จอย่างมากมายในการเรียกเสียงสนับสนุนและคะแนนจากคุณรุ่นใหม่ (อายุระหว่าง 18-26 ปี) ที่มีสูงถึงเกือบ 8 ล้านคนจากผู้มีสิทธเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 51 ล้านคน ซึ่งถ้านับเสียงทั้งหมดของพวกเขาจะสามารถเลือก สส.เขต ได้เกือบ 100 คน นับตั้งแต่การจัดตั้งพรรค พรรคอนาคตใหม่มีพุ้งเป้าชัดเจนในการมุ่งหาเสียงกับคุณกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์และแบบแผนการหาเสียงที่เข้าถึงคนรุ่นนี้ให้ได้ นโยบายทางการเมืองใหม่ๆ ที่พรรคอื่นๆ ไม่เคยให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร การส่งเสริมสิทธิของ LGBT การกระจายอำนาจ การต่อต้านผู้มีอำนาจเก่า จุดยืนต่อต้านคสช.ที่เป็นกระแสท่ามกลางคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจรัฐบาลทหาร พรรคอนาคตใหม่สามารถทำให้กระแสความเป็นกบฎหลายเป็นเรื่องคูล เป็นเรื่องทันสมัย

ในทางตรงกันข้ามไม่มีพรรคการเมืองใดให้ความสำคัญกับการเข้ามาช่วงเชียงมวลชนกลุ่มนี้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผล 2 ประการ ประการที่ 1 พรรคส่วนใหญ่มีฐานมวลชนที่ค่อนข้างแน่นอนของตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมิติจุดยืนทางการเมือง หรือมิติในพื้นที่ ในปีกที่สนับสนุนประชาธิปไตย สนับสนุนการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ พรรคเสรีรวมไทย นโยบายส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรณรงค์ที่เน้นฐานมวลชนที่ยังไงก็เลือกพรรคตัวเองอยู่แล้ว ขณะที่อีกปีกหนึ่งคือปีกที่ พยายามรณรงค์เพื่อเชียร์ระบอบทหาร ก็มีวิธีรณรงค์และประเด็นรณรงค์ที่ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังประชารัฐ พรรคพลังประชาชาติไทย พรรคเหล่านี้เน้นการรณรงค์หาเสียงไปที่มวลชนที่เคยเป็นกลุ่ม กปปส. เก่า กลุ่มพันธมิตรเก่า หรือกลุ่มที่มีแนวคิดเชิงอนุรักษ์นิยม เราไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะรณรงค์เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ นอกจากนั้น พรรคการเมืองต่างๆ ยังผูกพันกับพื้นที่-ท้องถิ่นเฉพาะตัว (พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเน้นการรณรงค์เฉพาะในกรุงเทพฯ และภาคใต้ หรือพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนาในภาคกลางและอีสาน) พวกนี้จะมีฐานมวลชนจัดตั้งเดิมหรือจงรักภักดีต่อพรรคมายาวนาน ก็ไม่เห็นความจำเป็นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม หรือแม้แต่พรรคที่ต่อต้านคสช.อย่างพรรคเพื่อไทยก็ไม่เน้นการหาเสียงจากคนกลุ่มนี้ ตัวอย่างเช่นในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยออกนโยบายหวยบำเหน็จ ถึงแม้ว่าจะเป็นนโยบายที่น่าดึงดูดใจ แต่มันไม่ใช่นโยบายที่ถูกใจวัยรุ่น แต่เป็นนโยบายที่ถูกใจฐานชนชั้นกลางระดับล่างซึ่งเป็นเสียงเดิมของพรรค ซึ่งนี่สะท้อนว่าพรรคเพื่อไทยยังคงรณรงค์หาเสียงจากมวลชนกลุ่มเดิมที่เคยทำให้พวกเขาชนะอย่างถล่มทลายในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาคือ ชนชั้นกลางระดับล่าง ทั้งในภาคเกษตร ในชนบทของไทย และคนจนเมือง

ประการที่ 2 การผลิตนโยบายที่คนรุ่นใหม่ชอบเสี่ยงต่อการสูญเสียฐานเสียงเดิม การที่พรรคจะลงทุนในการผลิตนโยบายใหม่เพื่อดึงคนรุ่นใหม่ ผลิตสื่อแบบใหม่นั้น มันเป็นการลงทุนลงแรงค่อนข้างมากและมีความเสี่ยงสูง พรรคส่วนใหญ่จึงเสนอนโยบายที่ค่อนข้างปลอดภัยเพื่อรักษาฐานมวลชนเดิมของตนเอาไว้ให้มั่น โดยไม่เสี่ยงที่จะแตะต้องประเด็นใหม่ๆ ที่อาจจทำให้ฐานมวลชนเดิมของตนไม่พอใจ เช่นไม่มีพรรคไหนกล้ารณรงค์เรื่อง LGBT การยกเลิกการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ต้น ความล้มเหลวของพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวอย่างของพรรคที่พยายามจะคืบเข้ามาในประเด็นเหล่านี้ในช่วงท้ายก่อนเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการไม่เห็นด้วยกับการเกณฑ์ทหารหรือการไม่ร่วมมือกับพลเอกประยุท์ ซึ่งแนวทางดังกล่าวกลับกลายเป็นการทำลายฐานเสียงเดิมของพรรค

ผลที่ออกมาคือ พรรคอนาคตใหม่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในหมู่คนรุ่นใหม่นับตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง โพลในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อนาตคใหม่ได้รับความนิยมถึง 90%  ความพยายามในการสกัดการเติบโตของคะแนนนิยมที่วัยรุ่นมีต่อพรรคอนาคตใหม่ในช่วง 3-4 เดือนสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งโดยฝ่ายรัฐและปีกอนุรักษ์นิยมไม่ประสบความสำเร็จ เสียงของคนรุ่นใหม่กลายเป็นเสียงที่อำนาจรัฐแบบเก่าควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการพยายามประณามกระแส #ฟ้ารักพ่อ ที่วัยรุ่นเปรียบเทียบธนาธรว่าเป็น daddy sugar ของพวกเขา ว่าเป็นความโง่เขลาและถูกปั่นด้วยกระแสความคลั่งไคล้ในตัวธนาธรประดุดดารา ถูกตอกกลับด้วยกระแสที่ออกมาอธิบายผ่านโซเชียลมีเดียว่า พวกเขาใช้สมองในการเลือกมากกว่าที่ผู้ใหญ่คิด ตรงกันข้าม การสกัดกั้นเหล่านี้กลับกระตุ้นให้คนรุ่นจำนวนมาก ไม่พอใจต่อสถาบันและกระแสอนุรักษ์นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้าย เช่นการ twitter “#ใครลูกมึง” เกิดขึ้นหลังจากพลเอกประยุทธ์กล่าวว่าเขามีลูกที่เป็นคนไทยทั้ง 68 ล้านคนที่ต้องดูแล การชวนเพื่อนวัยรุ่นไปเลือกตั้งผ่านการรณรงค์ “ไปใช้ปากกาฆ่าเผด็จการ” และที่ร้ายที่สุดคือ การที่ “#โตแล้วเลือกเองได้” ขึ้นไปเป็นอันดับ 1 ภายใน 30 นาทีหลังการอัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวงราชการที่ 9 ที่เชิญให้คนไทยเลือกคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง  ประกาศผ่านโทรทัศน์ทุกช่องในเวลา 23 นาฬิกาของคืนก่อนเลือกตั้ง

More on Thailand’s Election

Thailand’s tainted Election Commission

At the heart of the controversies over Thailand's 2019 election sits the Election Commission.

Cooptation doesn’t work: how redshirts voted in Isan

The redshirt movement endures at the ballot box.

Pheu Thai won the Facebook Election in Thailand

Online, it was the least active party which proved the most popular during the 2019 Thai election, meaning supporters mobilised with little direction from above.