Image credit: Sorawut Wongsaranon

Four years of the NCPO, four years of creative resistance—part two

สี่ปีคสช.: สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมแห่งการท้าทายอำนาจรัฐทหาร ตอนที่ 2

ฉบับภาษาไทยอยู่ข้างล่าง

For the past four years, the National Council for Peace and Order (NCPO) has sought to control political resistance. Measures have included confining protest leaders and key political figures in detention for ‘attitude adjustment’ and coercive memorandums on political activity. Soldiers, police and other security officers continue to pay visits to the homes of activists. Laws to curb political assembly, enacted via executive powers, include but are certainly not limited to NCPO Order No. 7/2557 and NCPO Order No. 3/2558 (bans on political gatherings of five or more people), and NCPO Order 49/2557 (a ban on providing support for political assembly).

At a glance, the NCPO’s efforts may appear to have had some measure of success. Key political movements such as the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) has ceased organising rallies at the scales seen before the 2014 coup. Yet the UDD’s quietness does not at all mean that civilians who disagree with military rule have surrendered to the finality of the NCPO. In a context where peaceful assembly is outlawed, activists are managing the risk of open conflict with authorities by creatively transforming everyday activities into expressions of frustration.

These strategies are as much about toeing the lines set by law, as they are about imparting a message that political expression is a normal thing that all people can do, rather than a dangerous and scary thing as suggested by the NCPO’s discourse. To mark the fourth anniversary of the NCPO’s coup, I have compiled a tapestry of activist inventiveness that military rule has not been able to stamp out.

Part one can be found here.

Time stops for no junta

While activists have long drawn upon the motif of clocks to symbolise lost time under the junta, they have in an unexpected twist come to represent the corruption of high-ranking officials in the NCPO.

Kate is now a leader of the We Want Elections group, whose leaders were recently detained for protesting the fourth anniversary of the most recent coup. On the first anniversary of coup , Kate  led an event that invited the general public to gather at 6pm outside the Bangkok Art and Cultural Centre and quietly look at their watches. While the theme of “watches” intended to symbolise all that the people had lost under the junta, Kate also felt that the activity was accessible to all since most people have access to a time-telling device, at least on their mobile phones. Four years later, a case against Kate and 8 other student activists for participating in the stunt is still making its way through military court.

Fast forward to the fourth year of the NCPO’s rule and Deputy Prime Minister and Defence Minister Prawit Wongsuwan birthed a whole new terrain of satire revolving around watches. On 4 December 2017, netizens collated a collage of the Defence Minister’s outfits on various occasions, calculating that Prawit possesses at least 25 different luxury watches—none of which had been included in his assets declaration to the National Anti-Corruption Commission upon entering office in 2014.

Widespread criticism and ridicule ensued online. Ekkachai Hongkangwan, a prominent activist, has, for example, taken to tailing Prawit in a shirt adorned with cut-out pictures of luxury watches—wearing it to submit a request to the Anti-Corruption Commission to investigate Prawit’s assets on 5 March 2018. Ekkachai has vowed to wait outside the state cabinet meeting every Monday to bestow another watch onto the deputy PM.

On 30 January 2018, the artist Headache Stencil unveiled a large graffiti mural of a fake Rolex watch featuring Prawit’s face on the clock-face, accompanied by the caption: “You have many watches, but your time is up. All parties have to come to an end”. On 2 February 2018, the prominent activist, Toto, distributed photos of a security officer covering the mural. Two days later, Headache Stencil reported that plain-clothes officers had stationed themselves near his residence on an almost 24-hour basis.

Ekkachai Hongkangwan has taken to tailing the Deputy PM in this shirt.

Prayuth Pinocchio

We Want Elections first unveiled “Prayuth Pinocchio” on 24 February 2018: a cartoon of the junta leader General Prayuth with a long nose like Pinocchio’s.

In November 2014, Prayuth announced to media that elections would be held within one year, as per the junta’s “road map” to democracy. But in February 2015, he announced that there would not be elections that year after all, as the National Reform Council had not yet approved the draft constitution. In October 2017, the Organic Law on Elections finally came into effect and Prayuth told reporters that an election date would be announced in June 2018. From there, elections would supposedly take place in November 2018.

In January 2018, however, it became apparent that elections were likely to be delayed once again. That month, the special committee from the junta-appointed National Legislative Assembly tasked with vetting the Organic Law on Elections voted to amend Section 2 of the law. The reform means that the Organic Law on Elections will come into effect 90 days after its publishing in the Royal Gazette, rather than immediately as specified in the original draft of the law. Elections may now be pushed back to February 2019.

This prospect mobilised the formation of the We Want Elections group, which on 24 February 2018 distributed “Prayuth Pinocchio” masks in a stunt to demand elections this year. Kate recalls that the masks were sketched in a humorous design, to lessen the stressfulness of engaging in politics. But distributing masks also served to allowed attendees at the event to participate and take photos while mitigating the risk of identification by plain clothes officers.

From there, the group decided to print and distribute various paraphernalia featuring Prayuth Pinocchio, such as fans and waterproof phone cases. Kate and other activists intend to make Prayuth Pinocchio ‘go mainstream’—rather than just an image seen at protests—by making the cartoon of the junta leader with a long nose as ubiquitous as ‘those stickers with the names of temples that are always on the back of pick-trucks’.

Sandwiches, 1984 and wristwatches: four years of the NCPO, four years of creative resistance—part one

สี่ปีคสช.: สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมแห่งการท้าทายอำนาจรัฐทหาร Activists never intended to use sandwiches during protests—it was the authorities themselves who seized upon sandwiches in 2014, making an unintended contribution to anti-authoritarian emblems.

 During this year’s Songkran festival, We Want Elections distributed waterproof phone cases featuring Prayuth Pinocchio at the annual water fights along Khao San Road, hoping to impart that elections too should be a regular feature of the Thai calendar. Kate admits that at first, she was nervous to distribute the phone cases at Khao San, knowing she would encounter people of different political leanings. In the end, the response was largely enthusiastic: people were curious about Prayuth Pinocchio, some asked for photos with the We Want Elections members, and nobody tried to start a quarrel. Others however, upon seeing that the phone cases featured a pro-election message, hesitated to accept them.

The symbolic acts featured in this series are just a fragment of the creative elements of resistance that have survived under four years of the NCPO. These stories and images provide good cause to believe that as long as the military government is in power, civilians will continue to adapt novel tactics and inventive strategies to communicate their opposition to the status quo.

This article was submitted by iLaw as an amended version of its annual post-coup report

นาฬิกาบอกเวลา: สัญลักษณ์ของเวลาที่เสียไปและประดิษฐกรรมต่อต้านการทุจริต

ในบรรดาสิ่งของที่ถูกหยิบใช้เพื่อคัดค้านการรัฐประหารหรือประท้วงคสช.ทั้งหมดในรายงานชิ้นนี้ นาฬิกาเป็นสิ่งเดียวที่ถูกหยิบมาใช้ทั้งในฐานะสัญลักษณ์เพื่อให้ความหมายทดแทน “เวลาที่เสียไป” และฐานะประดิษฐกรรมทางการเมืองที่ผลิตขึ้นเพื่อเสียดสีบุคคลรัฐมนตรีในรัฐบาลคสช.ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชันเสียเอง ทั้งที่ตอนเข้ามาสู่อำนาจการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลที่แล้วคือ “เหตุผล” ที่คสช.ใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญของตัวเอง

ลูกเกดเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งนาฬิกาถูกหยิบยกมาให้ความหมายในฐานะสัญลักษณ์ทางการเมืองในกิจกรรม “ศุกร์ 22 มาฉลองกันมะ”  ที่เชิญชวนประชาชนมาร่วมยืนดูนาฬิกาเงียบๆ ใน เวลา 18.00 – 18.15 ที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพฯว่า ช่วงก่อนวันครบรอบหนึ่งปีการรัฐประหาร เธอและเพื่อนๆนักศึกษาที่มีความตื่นตัวทางการเมืองกลุ่มหนึ่งมีความคิดที่จะจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการรัฐประหารที่กำลังจะผ่านไปครบหนึ่งขวบปี ในที่สุดเธอและเพื่อนๆก็ตัดสินใจที่จะหยิบนาฬิกา เครื่องมือบอกเวลามาให้ความหมายทางการเมืองในกิจกรรมครั้งนี้ สำหรับเหตุที่เลือกนาฬิกา ลูกเกดระบุว่าหน้าที่ตามปกติของนาฬิกาคือเครื่องมือบอกเวลา การจัดกิจกรรมครั้งนี้จึงเป็นการสื่อความหมายว่าเวลาหนึ่งปีที่ผ่านไปประเทศและประชาชนได้สูญเสียอะไรหลายๆอย่างไป ขณะเดียวกันนาฬิกาก็เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะอยู่บนฝาผนัง บนข้อมือ หรือแม้กระทั่งในโทรศัพท์มือถือ การใช้นาฬิกาเป็นสัญลักษณ์จึงทำให้คนที่สนใจมาร่วมทำกิจกรรมได้ไม่ยากนัก

แม้ว่ากิจกรรมยืนดูนาฬิกาจะยุติไปตั้งแต่เวลาประมาณหนึ่งทุ่มของวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 แล้ว แต่นาฬิกาในฐานะสัญลักษณ์ของเวลาที่ต้องสูญเสียไปยังคงอยู่เพราะจนถึงวันนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนดูนาฬิการวมเก้าคนรวมทั้งลูกเกดยังคงมีชื่อในสารบบคดีของศาลทหารจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยในจำนวนเก้าคนมีสองคนที่คดีอยู่ในชั้นพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพแล้วทำให้ต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลทุกครังที่มีวันนัด

ในช่วงขวบปีที่สองของการรัฐประหาร นาฬิกาถูกหยิบมาใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเวลาและโอกาสที่ประเทศต้องสูญเสียไปเพราะการรัฐประหาร แต่เมื่อย่างเข้าขวบปีที่สี่ของการรัฐประหารนาฬิกาได้ถูกมาสร้างเป็น “ประดิษฐกรรม” ทางการเมืองเพื่อเสียดสีกรณีที่มีการเปิดเผยว่าพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่มีนาฬิกาในครอบครองอย่างน้อย 25 เรือน แต่ไม่ได้นาฬิการดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อปปช.

ตามรายงานของบีบีซีไทย เพจเฟซบุ๊ก CSI LA เริ่มขุดคุ้ยปมนาฬิกาหรูของพลเอกประวิตรเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม 2560  ด้วยการจับภาพนาฬิกาข้อมือที่พล.อ.ประวิตรใส่ขณะถ่ายภาพหมู่ครม.ชุดใหม่ และได้นำภาพนาฬิกาหรูที่พล.อ.ประวิตรในอีกหลายๆโอกาสมาทยอยเปิดเผยอย่างต่อเนื่องพร้อมเปิดเผยรู่น ยี่ห้อ และราคา  ก่อนจะมาสรุปในวันที่ 17 มกราคม 2560 ว่าเท่าที่สำรวจได้พล.อ.ประวิตรมีนาฬิกาหรูอย่างน้อย 25 เรือน การเปิดโปงเรื่องนาฬิกาหรูของเพจ CSI LA  ทำให้นักกิจกรรมทางสังคมส่วนหนึ่งนำเอา “นาฬิกา” ไปสร้างสรรค์เป็นประดิษฐกรรมออกมาแซว เช่น โตโต้ นักกิจกรรมทางสังคมคนหนึ่งได้โพสต์เฟซบุ๊กในวันที่ 28 ธันวาคมว่า หากมีการเปิดเผยนาฬิกาหรูครบ 12 เรือนเขาจะนำภาพนาฬิกาหรูไปทำปฏิทินตั้งโต๊ะแจกเป็นของขวัญปีใหม่ แต่ปรากฎว่า จำนวนนาฬิกาที่ถูกนำมาเปิดเผยมีมากถึง 25 เรือน ปิยรัฐจึงเปลี่ยนไปทำเป็นปฏิทินแบบแผ่นเดียวเพื่อให้สามารถใส่รูปนาฬิกาได้ครบทุกเรือน หลังจากนั้นในวันที่ 12 มกราคม 2561 ปิยรัฐก็โพสต์ภาพปฏิทินพร้อมข้อความว่าเขาดำเนินการแจกจ่ายปฏิทินแล้ว

เอกชัย นักกิจกรรมทางสังคมอีกคนหนึ่งก็ปรินท์ภาพนาฬิกาหรูของพล.อ.ประวิตรมาติดบนเสื้อสูทพร้อมตั้งชื่อเสื้อตัวดังกล่าวว่า “เสื้อเกียรติยศประดับเหรียญหน้าด้าน” และตัวเขาก็สวมเสื้อตัวดังกล่าวไปทำกิจกรรมเชิญสัญลักษณ์เสียดสีพล.อ.ประวิตร ในบางโอกาส เช่น ในวันที่ 5 มีนาคม 2561 เอกชัยเดินทางไปยื่นหนังสือให้ป.ป.ช.เรียกตัวพล.อ.ประวิตรมาชี้แจงเกี่ยวกับการครอบครองนาฬิกาหรูหลายรายการ และในวันที่ 13 มีนาคม 2561 เอกชัยก็สวมเสื้อตัวเดียวกันไปทำพิธีจุดธูปไล่สิ่งอัปมงคลที่ทำเนียบรัฐบาลพร้อมทั้งนำแผ่นป้ายไวนิลที่มีรูปนาฬิกาของ พล.อ.ประวิตรมาถือแสดงเป็นการแสดงออกเชิญสัญลักษณ์พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์ว่าเขาจะมาดักรอมอบนาฬิกาให้พล.อ.ประวิตรในการประชุมครม.ทุกวันอังคารจนกว่าพล.อ.ประวิตรจะออกมารับนาฬิกาด้วยตัวเอง

ปมนาฬิกาหรูของพล.อ.ประวิตรยังถูกนำไปสร้างสรรค์เป็นภาพกราฟฟิตีบนฝาผนังด้วย โดยเพจเฟซบุ๊ก Headache Stencil ได้โพสต์ภาพกราฟฟิตีที่เป็นรูปนาฬิกาปลุกยี่ห้อโรเล็กซ์และมีหน้าพล.อ.ประวิตรอยู่หน้าปัดในวันที่ 30 มกราคม 2561 พร้อมเขียนข้อความประกอบว่า ” นาฬิกาเยอะ แต่เวลาน่าจะหมดละนะ พอเหอะลุง งานเลี้ยงย่อมมีเลิกลา… no more time” ต่อมาในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 เฟซบุ๊กเพจดังกล่าวก็โพสต์ข้อความว่ามีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาติดตามความเคลื่อนไหวของเขาบริเวณใกล้ที่พักเกือบจะตลอด 24 ชั่วโมง และก่อนหน้านั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 โตโต้ นักกิจกรรมทางสังคมที่ทำปฏิทินนาฬิกาหรูออกแจกจ่ายก็โพสต์ภาพ บุคคลแต่งตัวคล้ายเจ้าหน้าที่กำลังเผ้าดูชายคนหนึ่งลบภาพกราฟฟิตีนาฬิกาที่น่าจะถูกวาดโดย  Headache Stencil ออกจากสะพานลอยแห่งหนึ่ง เป็นภาพ cover เฟซบุ๊กของตัวเอง

“ยุทธน๊อคคิโอ” กับโจทย์ใหญ่ทำยังไงให้การเมืองอยู่ในชีวิตประจำวัน

ประดิษฐกรรมทางการเมืองชิ้นสุดท้ายที่จะหยิบยกมาบอกเล่าในรายงานชิ้นนี้ได้แก่ประดิษฐกรรมชุด “ยุทธน๊อคคิโอ” ภาพหน้าพิน็อคคิโอจมูกยาวที่ใบหน้าถูกตกแต่งให้ละม้ายคล้ายคลึงกับหัวหน้าคสช.ซึ่งถูกนำมาใช้ในกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งครั้งแรกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 พล.อ.ประยุทธ์เคยให้สัมภาษณ์กับผู็สื่อข่าวว่ามีความตั้งใจที่จะจัดการเลือกตั้งภายในหนึ่งปีตามโรดแมปที่วางไว้  จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ระหว่างที่พบปะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นก็ประกาศว่า น่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายในปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 แต่ก็ไม่มีการเลือกตั้งเนื่องจากสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ส่งผลให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไปเพราะต้องทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่  ในเดือนตุลาคม 2560 หลังพ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ มีผลบังคับใช้ นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวตอนหนึ่งว่าคาดว่าในเดือนมิถุนายน 2561 น่าจะประกาศวันเลือกตั้งได้และการเลือกตั้งน่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2561

อย่างไรก็ตามในช่วงกลางเดือนมกราคม 2561 ก็มีความเป็นไปได้ที่การเลือกตั้งจะถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งเมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีมติเสียงข้างมาก ปรับแก้ในมาตรา 2 เกี่ยวกับการกำหนดวันบังคับใช้กฎหมายให้มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้พรรคการเมืองมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งจะถูกเลื่อนไปจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562

แนวโน้มที่การเลือกตั้งจะถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งทำให้มีกลุ่มประชาชนออกมาทำกิจกรรมเชิญสัญลักษณ์ในชื่อ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” โดยมีข้อเรียกร้องหลักให้มีการจัดการเลือกตั้งในปีนี้ โดยการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการนำหน้ากาก  “ยุทธน๊อคคิโอ” ออกมาแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมงานสวมใส่เพื่อเสียดสีว่าพล.อ.ประยุทธ์เคยสัญญาเรื่องการเลือกตั้งหลายครั้งแต่ก็เลื่อนออกไปทุกครั้ง เหมือนพิน็อคคิโอ ตุ๊กตาไม้ที่โกหกจนจมูกยาว

ลูกเกดหนึ่งในนักกิจกรรมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเล่าถึงที่มาที่ไปของการสร้างหน้ากาก”ยุทธ์น็อคคิโอ”ขึ้นมาว่าเมื่อพูดถึงการโกหกสิ่งที่ทุกคนน่าจะนึกถึงก็คือพิน็อคคิโอ เพื่อนสมาชิกในกลุ่มที่มีความสามารถทางกราฟฟิกและมีความคิดสร้างสรรค์เลยออกแบบหน้ากาก “ยุทธ์น็อคคิโอ” ขึ้นมาเพื่อใช้ทำกิจกรรมโดยพยายามดีไซน์ให้ดูตลกเพราะไม่ต้องการทำให้การเมืองเป็นเรื่องเครียด ส่วนที่ครั้งแรกเอามาดีไซน์เป็นหน้ากากก็เพราะคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนที่มาร่วมกิจกรรมกับทางกลุ่มมีส่วนร่วมด้วยการใส่หน้ากากถ่ายรูปได้ นอกจากนี้หน้ากากก็น่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้มาร่วมกิจกรรมถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบถ่ายรูปและเอาไปค้นประวัติมาดำเนินคดีได้

หลังผลิตหน้ากากออกมาใช้ทำกิจกรรมในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ “ยุทธน๊อคคิโอ” ก็ถูกผลิตเป็นพัดและนำมาจำหน่ายราคาอันละยี่สิบบาทในวันที่ 24 มีนาคม 2561 หรือหนึ่งเดือนหลังจาก “ยุทธน๊อคคิโอ” ปรากฎโฉมต่อสาธารณะในรูปแบบหน้ากาก ลูกเกดเล่าถึงการนำดีไซน์ของหน้ากากไปทำเป็นพัดว่า เธอและคนในกลุ่มมีการพูดคุยกันว่าน่าจะต้องหาทางทำให้  “ยุทธน๊อคคิโอ” กลายเป็นแบรนด์ที่คนเห็นติดตา เห็นมันทั่วไปเหมือนที่เห็นสติกเกอร์เขียนชื่อวัดแห่งหนึ่งติดตามท้ายรถกระบะ ไม่ใช่แค่เป็นสัญลักษณ์ที่เห็นได้แค่ตามที่ชุมนุม การนำ  “ยุทธน๊อคคิโอ” ไปทำเป็นพัดจะทำให้มันเกิดประโยชน์ใช้สอยขึ้นมา ไม่ว่าจะใช้ระหว่างมาร่วมกิจกรรมของทางกลุ่มท่ามกลางอากาศร้อน หรือใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ตอนนั่งรถเมลล์

นอกจากทำเป็นพัดแล้ว “ยุทธน๊อคคิโอ” ยังถูกนำไปผลิตเป็นซองกันน้ำแจกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ถนนข้าวสารด้วยขณะที่สมาชิกกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่นำซองกันน้ำไปแจกก็ร่วมเล่นน้ำที่ตรอกข้าวสารด้วย บนซองกันน้ำนอกจากจะมีภาพ “ยุทธน๊อคคิโอแล้ว”ยังมีคำว่า “อยากเลือกตั้ง” สกรีนไว้ด้วย ลูกเกดเล่าถึงแนวคิดในการผลิตซองกันน้ำชิ้นนี้ว่า ทางกลุ่มต้องการทำให้การเลือกตั้งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่อยู่ในชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับงานเทศการได้ สำหรับการตอบรับจากประชาชนที่ตรอกข้าวสารลูกเกดเล่าว่าครั้งแรกที่ไปแจกทางกลุ่มก็รู้สึกกลัวอยู่นิดๆเพราะคนที่มาเล่นน้ำก็น่าจะมีแนวคิดทางการเมืองที่หลากหลายแต่เมื่อไปลงพื้นที่แจกจริงก็มีกระแสตอบรับที่ดี บางคนที่จำสมาชิกในกลุ่มได้ก็มาขอถ่ายรูปบางคนเดินมาขอด้วยความสนใจ และก็ไม่ปรากฎว่ามีคนที่เห็นต่างมาตำหนิหรือพูดไม่ดีใส่มีแค่บางคนที่พอเห็นว่าเป็นซองกันน้ำเรียกร้องการเลือกตั้งก็ลังเลที่จะรับอาจจะเป็นเพราะความกลัวซึ่งทางกลุ่มก็เข้าใจ

สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงสี่ปีที่คสช.เป็น “รัฏฐาธิปัตย์” ที่ถูกนำเสนอในรายงานชิ้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ในการคัดค้านการรัฐประหารและคสช.เท่านั้น และงานชิ้นนี้ก็คงยังไม่ใช่งานที่เสร็จสมบูรณ์เพราะตราบเท่าที่คสช.ยังคงอยู่ในอำนาจนักกิจกรรมทางสังคมก็น่าจะยังคงต้องผลิตสัญลักษณ์หรือประดิษฐกรรมใหม่ๆมาสื่อสารเพื่อท้าทายอำนาจของคสช.ต่อไป และนับจากนี้คงต้องติดตามต่ออย่างใกล้ชิดว่าเมื่อใกล้จะถึงวันเลือก และบรรยากาศทางการเมืองกลับมาคึกคักอีกครั้ง จะมีสัญลักษณ์และประดิษฐกรรมใหม่อะไรออกมาให้ได้ชมกันอีก

More on Thailand

Purging the Thai Sangha

The persecution of one of the junta's most outspoken supporters, Buddha Issara, demands explanation

Thailand’s triple threat

Nicholas Farrelly's new Lowy Institute paper explores the tensions beneath the surface of Thailand's military–monarchy 'survival pact'.