IMAGE CREDIT: APIRAK TYPHOON

Sandwiches, 1984 and wristwatches: four years of the NCPO, four years of creative resistance—part one

สี่ปีคสช.: สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมแห่งการท้าทายอำนาจรัฐทหาร

ฉบับภาษาไทยอยู่ข้างล่าง

For the past four years, the National Council for Peace and Order (NCPO) has sought to control political resistance. Measures have included confining protest leaders and key political figures in detention for ‘attitude adjustment’ and coercive memorandums on political activity. Soldiers, police and other security officers continue to pay visits to the homes of activists. Laws to curb political assembly, enacted via executive powers, include but are certainly not limited to NCPO Order No. 7/2557 and NCPO Order No. 3/2558 (bans on political gatherings of five or more people), and NCPO Order 49/2557 (a ban on providing support for political assembly).

At a glance, the NCPO’s efforts may appear to have had some measure of success. Key political movements such as the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) has ceased organising rallies at the scales seen before the 2014 coup. Yet the UDD’s quietness does not at all mean that civilians who disagree with military rule have surrendered to the finality of the NCPO. In a context where peaceful assembly is outlawed, activists are managing the risk of open conflict with authorities by creatively transforming everyday activities into symbolic expressions of frustration.

These strategies are as much about toeing the lines set by law, as they are about imparting a message that political expression is a normal thing that all people can do, rather than a dangerous and scary thing as suggested by the NCPO’s discourse. To mark the fourth anniversary of the NCPO’s coup, I have compiled a tapestry of activist inventiveness that military rule has not been able to stamp out.

Anti-coup sandwiches  

Activists never intended to use sandwiches during protests—rather, it was the authorities themselves who seized upon sandwiches in 2014, making their own, unintended contribution to anti-authoritarian emblems.

Kate, an activist leader*, recalls that after the junta announced its ban on political gatherings of five people or more, she and her friends (who at the time were still students) decided they should organise some kind of resistance activity. Not wanting to draw the ire of officials, they decided to revolve the event around an everyday activity: watching a movie and eating snacks together. So Kate and fellow activists created an open Facebook event for 6 June 2014: “Picnic Under The Shade: Poetry, Movie Screening, Coup”.

At first, Kate and the activists had no ulterior motives in serving sandwiches at the event to attendees—they had brought them because they are easy to cut and hand out. But before the event began, authorities gathered at the event location and forcibly cancelled the event. The students requested to merely eat the sandwiches and then go home, seeing as they had prepared them already. The authorities refused—leading to a now notorious image of a security officer snatching sandwiches from a small-bodied student. In that second, sandwiches were transformed into a resonant anti-authoritarian symbol.

“The best spokesmen for the activists isn’t Rome or Ja New, but the NCPO itself,” Kate laughs.

Kate and eight other friends decided to make the best out of a bad situation, and organised an event to eat sandwiches—‘Nothing Much, We Just Want To Eat Sandwiches’—outside the Siam Paragon mall on 22 June 2014. The students were promptly arrested and detained in a camp for ‘attitude adjustment’. Several other sandwich-eating events have been since been staged, leading to international headlines such as “4 Absurdly Harmless Acts Now Criminalised By Thailand’s Military Rulers” and “Man Eats Sandwich, Gets Arrested”.

*At the time of this article’s publication, Kate is being detained in a police station for leading a protest demanding elections at Thammasat University.

Subversive reading groups

‘Peach’ (pseudonym), the activist behind past stunts where civilians gathered to do nothing more and nothing less than read books together, recalls following the news of activists being harrassed in the aftermath of the coup. She felt that the NCPO was succeeding in building a climate of fear through open collisions between protesters and authorities. She and her friends began divising resistance tactics that avoided overt political expression—to give authorities no cause to interfere—but which could still impart forcefully an anti-authoritarian sentiment. When a friend told Peach about a stunt in Turkey in 2013 where civilians gathered to read books at a park to protest plans to turn the public space into a mall, Peach borrowed the idea and applied it to the recent coup.

Reading 1984 outside the US Embassy in July 2014. Image credit: Prachatai

Peach felt that the activity of reading was not overly confrontational, but that the choice of books—George Orwell’s 1984 and other political books—would still impart that the gathering was aligned against the coup. In total, she organised four gatherings to read books: at the National Stadium skywalk, the Chong Nonsi BTS skywalk and near Wat Pathum Wanaram. The fourth reading session was mobile—readers rode on trains.

Peach recounts that the reading sessions were closed events, in that attendees were invited by word of mouth, out of fears for their safety. Only the fourth session was advertised through a Facebook event. At each gathering, Peach brought a cheap phone that she could quickly discard if necessary, rather than her usual smartphone. Though the reading sessions were organised secretly, Peach contacted trusted media contacts to cover the events and disperse images of civilians reading political texts together. She did not experience any direct harassment from authorities, which she puts down to their covert organisation.

Nick Nostitz in the killing zone

In this post from the New Mandala archives Nick Nostitz reports on the killing of a protestor in central Bangkok, May 2010.

Peach and her friends also poked holes in the junta’s laws, by reading in groups of four—not enough to violate the ban on gatherings on five people or more. Though Peach felt some fear while reading, she feels now certain they brought new tactics to Thailand’s resistance space that left authorities scratching their heads over law enforcement manuals—Peach recalls with humour that after the third reading session at the Chong Nonsi BTS skywalk, a stage for aerobics was conspicuously erected covering the space where the event had been held.

The three-finger salute

Protests against the NCPO took place as early as 23 May 2014 (the day after the coup). But in the coup’s immediate aftermath, protesters in their urgency did not think to seek a unifying symbol of resistance—individuals constructed their respective signs, converged at agreed meeting points, and shouted their grievances. Gatherings that took place on 1 June 2014 were probably the first time that protesters performed a shared symbolic gesture across a number of disparate meeting points (the National Stadium skywalk, outside the Bangkok Art and Culture Centre, outside the Terminal 21 Mall, Thammasat University’s Tha Prachan campus).

This gesture was a raising of three fingers, a salute borrowed from The Hunger Games. In the book and film series, the three-finger salute “means thanks, it means admiration, it means goodbye to someone you love”. But for protesters on the ground, the raising of three fingers is laden with further meaning borrowed from other “revolutionary trios” such as the 1789 French Revolution’s liberty, equality and fraternity.

On 19 November 2014, while General Prayuth was visiting the province of Khon Kaen, five students from the local activist group Dao Din stood in a line and raised the salute, while wearing shirts reading, “No To The Coup”. The students were arrested quickly—the day the first part of The Hunger Games: Mocking Jay was scheduled to come out in Thai theatres. The following day, another student from Bangkok University stood in front of an advertisement for the film, raised the three finger salute and placed her other hand over her mouth. Unsurprisingly, she was “invited” by police officers to Pathum Wan Police Station.

The salute has been repeatedly performed at resistance events in Thailand, capturing considerable public attention. But its meaning has also shifted with political context. The formation in early 2018 of the People Who Want Elections (คนอยากเลือกตั้ง), an activist network mobilising against the entrenchment of military rule, has vested the three-finger salute with the following messages: “1. elections in 2018 2. down with dictatorship 3. long live democracy”.

This article was submitted by iLaw as an amended version of its annual post-coup report

ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา คสช.พยายามจำกัดการแสดงออกหรือการเคลื่อนไหวต่อต้านโดยสันติของผู้เห็นต่างและคัดค้านการรัฐประหาร โดยใช้อำนาจพิเศษหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวแกนนำขบวนการเคลื่อนไหวหรือนักการเมืองคนสำคัญที่อาจนำการเคลื่อนไหวของประชาชนไปเข้าค่ายปรับทัศนคติและทำข้อตกลงห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง การออก ‘กฎหมาย’ ด้วยอำนาจพิเศษเช่นประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 (ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน) , 49/2557 (ห้ามสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง) และคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 (ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน) มาจำกัดการเคลื่อนไหวและการส่งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอื่นๆ ไปเยี่ยมบ้านผู้ออกเคลื่อนไหวต่อต้านคสช.

ในภาพรวมการสยายปีกแห่งของอำนาจคสช.อาจจะพอสร้างผลที่เป็นรูปธรรมได้บ้างเพราะตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมาแกนนำกลุ่มการเมืองที่มีแนวโน้มต่อต้านการรัฐประหารอย่างกลุ่ม นปช.ก็มีการจำกัดบทบาทการเคลื่อนไหวของตัวเองและไม่มีการนัดเคลื่อนไหวใหญ่ในระดับที่เคยเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร แต่ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความกลัวที่ คสช.พยายามสร้างขึ้นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารหรือการบริหารประเทศของคสช.ก็ใช่จะอยู่ในสภาวะยอมจำนนโดยสิ้นเชิง พวกเขาเพียงแต่ปรับเปลี่ยนแนวทางการเคลื่อนไหวใหม่อย่างการแสดงออกเชิญสัญลักษณ์ด้วยรูปแบบต่างๆเข้ามาแทนที่ื โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบความเคลื่อนไหวนี้นอกจากจะเป็นการลดความเสี่ยงของการชุมนุมขนาดใหญ่ที่อาจจบลงด้วยการถูกสลายการชุมนุมหรือถูกดำเนินคดี ยังสะท้อนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ร่วมการเคลื่อนไหวหลังการรัฐประหารที่พยายามหาลูกเล่นมาสร้างสีสันเพื่อทำให้ผู้รับสารรู้สึกว่าการแสดงออกทางการเมืองเป็นสิ่งที่ธรรมดาที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ไม่ใช่เรื่องรุนแรงหรือน่ากลัวแต่อย่างใด

เนื่องในโอกาสครบรอบสี่ปีของการรัฐประหาร ไอลอว์ถือโอกาสรวบรวมสัญลักษณ์และประดิษฐกรรมส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกถึงจุดยืนคัดค้านการรัฐประหารและการดำรงอยู่ของคสช. สัญลักษณ์ในรายงานชิ้นนี้หมายถึงท่าทางหรือสิ่งของที่มีอยู่แต่เดิมแต่ถูกนำมาให้ความหมายใหม่ในการคัดค้านการรัฐประหารหรือคสช.ส่วนประดิษฐกรรมหมายถึงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารถึงความไม่เห็นด้วยหรือการคัดค้านการรัฐประหารหรือคสช.โดยตรง

ชูสามนิ้ว: สัญลักษณ์ที่ถูกหยิบใช้และปรับเปลี่ยนความหมายมาตลอดสี่ปี 

เท่าที่มีข้อมูลการรวมตัวของประชาชนเพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคสช.น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหารแล้ว  แต่การรวมตัวครั้งดังกล่าวน่าจะยังไม่ได้มีการคิดค้นสัญลักษณ์ใดสัญลักษณ์หนึ่งมาใช้ในการแสดงออกร่วมกัน มีแต่เพียงการที่แต่ละคนเขียนป้ายแสดงความรู้สึกหรือออกมาตะโกนแสดงความรู้สึกของตัวเองในจุดนัดพบเท่านั้น การรวมตัวของกลุ่มประชาชนในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ในสถานที่หลายแห่งในเวลาไล่เลี่ยกันได้แก่ที่ ทางเดินสกายวอล์กสนามกีฬาแห่งชาติ, หน้าหอศิปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ห้างสรรพสินค้า เทอร์มินอล 21 แยกอโศก, ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ) น่าจะเป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าร่วมมีการใช้สัญลักษณ์ร่วมกันคือ ยกแขนชูนิ้วสามนิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่มาจากภาพยนตร์เรื่อง The  Hunger Games

กิจกรรมชูสามนิ้วต้านรัฐประหารที่สกายวอล์กสยามสแควร์ ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2557 ภาพจาก Banrasdr Photo.

สำหรับความหมายของสัญลักษณ์สามนิ้วเท่าที่มีการรายงานมีอยู่สองแบบ ความหมายแรกคือ “ขอบคุณ สรรเสริญ และลาก่อน” ซึ่งเป็นความหมายดั่งเดิมตามภาพยนตร์ The Hunger Games อย่างไรก็ตามในบริบทของการคัดค้านการรัฐประหารการชูสามนิ้วได้ถูกนำไปผนวกกับอุดมการณ์ที่อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ได้แก่ เสรีภาพ ความเสมอภาค และภารดรภาพ  สัญลักษณ์ “สามนิ้ว” น่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีการหยิบยกมาใช้ซ้ำในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านการรัฐประหารและคสช.บ่อยครั้งที่สุดและมีการให้ความหมายใหม่ตามบริบททางการเมืองที่เปลี่ยนไปด้วย โดยในช่วงต้นปี 2561 ที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการสืบทอดอำนาจของคสช. สัญลักษณ์สามนิ้วถูกหยิบยกมาใช้และให้ความหมายใหม่ว่า “1. เลือกตั้งในปีนี้ (2561) 2.เผด็จการจงพินาศ 3.ประชาธิปไตยจงเจริญ”

นอกจากการรวมตัวชูสามนิ้วที่กล่าวมาข้างต้นก็มีการชูสามนิ้วอีกอย่างน้อยสองครั้งที่กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในสาธารณะ ครั้งแรกในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังมอบนโยบายให้ข้าราชการที่จังหวัดขอนแก่น นักศึกษากลุ่มดาวดินห้าคนสวมเสื้อสกรีนข้อความที่เมื่อยืนเรียงกันอ่านว่า “ไม่ เอา รัฐ ประ หาร” พร้อมทั้งชูสัญลักษณ์สามนิ้วต่อหน้าพล.อ.ประยุทธ์ก่อนจะถูกควบคุมตัวออกไป คล้อยหลังจากนั้นเพียงหนึ่งวันในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ภาพยนตร์ The Hunger Games: Mocking Jay ภาค 1 มีกำหนดเข้าฉายในเมืองไทย ณัชชชา นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ยืนทำสัญลักษณ์สามนิ้วพร้อมเอามืออีกข้างหนึ่งปิดปากที่บริเวณแผ่นป้ายโฆษณาภาพยนตร์ The Hunger Game เป็นเหตุให้เธอถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ”เชิญตัว” ไปที่สน.ปทุมวัน การจับกุมผู้ที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการชูสามนิ้วยังถูกเฟซบุ๊กเพจ “ไข่แมว” หยิบไปทำภาพล้อเลียนด้วย แต่น่าเสียดายที่ภาพดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงในอินเทอร์เน็ตได้แล้วเนื่องจากภาพต้นฉบับถูกโพสต์ในเพจไข่แมวเดิมที่ปิดตัวไป

ภาพการ์ตูนล้อการจับคนชูสามนิ้วไปปรับทัศนคติโดยเพจไข่แมว ปัจจุบันเข้าถึงไม่ได้แล้วเนื่องจากเพจปิดไปแล้ว

บันทึกไว้ในยุคสมัย ครั้งหนึ่งคนไทยต้องแอบนัดกันอ่านหนังสือ

ในบริบทการเมืองที่การชุมนุมโดยสงบกลายเป็นสิ่งต้องห้ามและผิดกฎหมาย นักกิจกรรมทางสังคมส่วนหนึ่งพยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์นำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรปกติในชีวิตประจำวันมาประยุกต์เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถระบายความอึดอัดคับข้องใจอย่างสันติได้บ้างแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เสี่ยงต่อการปะทะหรือการจับกุมมากจนเกินไป

“พีชชี่” นักกิจกรรมที่เป็นคนต้นคิดในการจัดกิจกรรมอ่านหนังสือคัดค้านการรัฐประหารเล่าให้ฟังที่มาของการจัดกิจกรรมว่า หลังการรัฐประหารเธอติดตามข่าวการเคลื่อนไหวคัดค้านการรัฐประหารและการใช้อำนาจจับกุมประชาชนอย่างใกล้ชิด จนเกิดความรู้สึกว่า คสช.เริ่มประสบความสำเร็จในการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวผ่านการจับตัวผู้ออกมาประท้วงในลักษณะ “ปะทะตรง” เธอจึงเริ่มคุยกับเพื่อนว่า น่าจะต้องหาวิธีทำกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงการแสดงออกโดยตรงเพื่อลดเงื่อนไขการใช้อำนาจจับกุมของเจ้าหน้าที่ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถสื่อถึงการคัดค้านได้อย่างมีพลังด้วย

เพื่อนชาวต่างชาติของ “พีชชี่” คนหนึ่งเล่าให้เธอฟังว่าในปี 2556 เคยมีการจัดกิจกรรมอ่านหนังสือประท้วงแผนการเอาที่ดินสวนสาธารณะไปสร้างเป็นห้างสรรพสินค้าในตุรกี เธอจึงได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์เป็นการจัดกิจกรรมอ่านหนังสือคัดค้านการรัฐประหารในไทย เนื่องจากเห็นว่ารูปแบบของกิจกรรมไม่ได้มีลักษณะเป็นการเผชิญหน้า ในขณะเดียวกันก็สามารถสื่อนัยถึงกิจกรรมได้อย่างชัดเจนผ่านเนื้อหาของหนังสือที่นำมาอ่านอันได้แก่ หนังสือ 1984 วรรณกรรมของจอร์จ ออร์เวลที่บอกเล่าเรื่องราวของประเทศสมมติประเทศหนึ่งที่ถูกปกครอง โดยระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จที่มีการสอดส่องและควบคุมไม่เพียงการแสดงออกทางกายแต่ครอบคุมไปถึงความคิดและจิตใต้สำนึก รวมทั้งหนังสือการเมืองอื่นๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน

“พีชชี่”ระบุว่าตัวเธอเป็นผู้ประสานงานและร่วมทำกิจกรรมอ่านหนังสือทั้งหมดสี่ครั้งครั้งแรกจัดที่ลานสกายวอล์กบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่สองที่สกายวอล์กบีทีเอสช่องนนทรีย์  ครั้งที่สามที่สกายวอล์กบริเวณวัดปทุมวนาราม และครั้งที่สี่เป็นการอ่านแบบเคลื่อนที่บนรถไฟฟ้า และเล่าต่อไปว่า การจัดกิจกรรมอ่านหนังสือเป็นการจัดแบบไม่เปิดเผยเนื่องจากมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย การประสานงานระหว่างผู้เข้าร่วมเป็นลักษณะการบอกต่อ ไม่มีการประกาศเชิญชวนบนเฟซบุ๊ก (ยกเว้นครั้งที่สี่ที่มีการสร้าง event ในเฟซบุ๊ก) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้งจะมาพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อนเริ่มทำกิจกรรมและทุกครั้งจะเตรียม “แมวมอง” ไว้คอยดูลาดเลาด้วย สำหรับตัว “พีชชี่” ทุกครั้งที่ไปทำกิจกรรมเธอจะพกโทรศัพท์แบบที่สามารถโยนทิ้งได้แบบไม่เสียดายแทนสมาร์ทโฟน แม้กิจกรรมอ่านหนังสือจะมีการประสานงานแบบ “ปิดลับ” เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้เข้าร่วมจะถูกคุกคามแต่ก่อนเริ่มกิจกรรมทุกครั้งก็จะมีการติดต่อสื่อมวลชนให้มารอทำข่าวเพื่อให้กิจกรรมที่เกิดขึ้นสื่อสารถึงประชาชนให้มากที่สุด

เมื่อถามถึงการคุกคามจากเจ้าหน้าที่ “พีชชี่” ระบุว่า กิจกรรมอ่านหนังสือมีการประสานงานแบบไม่เปิดเผย จึงไม่เคยมีการคุกคามโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ ทั้งยังเล่นกับ ‘กฎหมาย’ ของคสช. ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมอ่านหนังสือกันสี่คนซึ่งไม่ถึงห้าคนตามที่คสช.สั่งห้ามด้วย พร้อมทั้งเล่าแบบติดตลกด้วยว่า พอจัดกิจกรรมอ่านหนังสือครั้งที่สามที่ลานสกายวอล์กช่องนนทรีย์เสร็จ วันรุ่งขึ้นเธอและเพื่อนๆตั้งใจจะไปจัดกิจกรรมตรงนั้นอีกครั้งแต่ปรากฎว่ามีการตั้งเวทีแอโรบิคมาตั้งในบริเวณนั้นทั้งที่ปกติไม่น่าจะมีเธอเลยตัดสินใจยกเลิกกิจกรรมในนาทีสุดท้าย สำหรับผลตอบรับจากสังคม “พีชชี่”  ยอมรับว่า หากวัดกันในแง่จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คงมีคนมาไม่มากเหมือนที่ประเทศตุรกี แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้ปรากฎว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารยังมีตัวตนอยู่ แม้ “พีชชี่” จะยอมรับว่าระหว่างการทำกิจกรรมเธอและผู้เข้าร่วมก็มีความกลัวอยู่บ้างแต่เนื่องจากมีการเตรียมความพร้อมและมาตรการสำรองไว้ระดับหนึ่งแล้วรวมทั้งการเคลื่อนไหวรูปแบบนี้ก็เป็นสิ่งใหม่ที่ฝ่ายความมั่นคงยังพลิกตำรารับไม่ทัน “พีชชี่” และผู้เข้าร่วมคนอื่นๆจึงตัดสินใจผลักมันไปข้างหน้า

แซนด์วิช สัญลักษณ์ต้านรัฐประหารที่คสช.”ภูมิใจ” นำเสนอ

นอกจากการอ่านแล้ว การกินก็เป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์อีกกิจกรรมหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาให้ความหมายในฐานะกิจกรรมคัดค้านการรัฐประหาร อย่างไรก็ตามกรณีของแซนด์วิชก็มีความต่างจากกรณีของการอ่านหนังสืออยู่บ้างเพราะหนังสือ 1984 และหนังสือการเมืองที่ถูกนำมาอ่านเล่มอื่นๆถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ของการคัดค้านการรัฐประหารด้วยความจงใจแต่แซนด์วิชคือสิ่งที่ถูกทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ด้วยความบังเอิญและที่สำคัญผู้ที่ทำให้แซนด์วิชกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านรัฐประหารไม่ใช่นักกิจกรรมที่ไหนแต่เป็นคสช.ที่ใช้อำนาจผ่านเจ้าหน้าที่รัฐเสียเอง

ลูกเกดนักกิจกรรมสาวอีกคนหนึ่งเล่าย้อนไปถึงที่มาที่ไปของแซนด์วิชในฐานะสัญลักษณ์คัดค้านการรัฐประหารว่า หลังคสช.มีประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน เธอและเพื่อนๆที่ยังเป็นนักศึกษาในขณะนั้นคุยกันว่าน่าจะต้องจัดกิจกรรมอะไรสักอย่าง ครั้นจะจัดการชุมนุมก็อาจจะเข้าเงื่อนไขที่จะถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจจับกุมได้ จึงคุยกันว่า น่าจะจัดกิจกรรมลักษณะอื่นที่ โดยเฉพาะเป็นกิจกรรมที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนอยู่แล้ว สุดท้ายเลยคุยกันว่า น่าจะจัดดูหนังแล้วก็กินขนมด้วยกัน

กิจกรรมปิคนิคใต้ร่มนนทรี อ่านบทกวี ฉายหนัง รัฐประหาร เหตุการณ์ที่ทำให้แซนด์วิชเป็นสัญลักษณ์ในการต้านรัฐประหาร ภาพจาก เพจ Banrasdr Photo

ลูกเกดและกลุ่มเพื่อนนักกิจกรรมจึงโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรม “ปิคนิคใต้ร่มนนทรี อ่านบทกวี ฉายหนัง รัฐประหาร” ในวันที่ 6 มิถุนายน 2557  ลูกเกดเล่าต่อไปว่า ตอนแรกพวกเธอไม่ได้คิดถึงแซนด์วิชในฐานะสัญลักษณ์ทางการเมืองเลยเพราะตัวเธอเองก็ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์อะไรขนาด  แซนด์วิชเป็นแค่หนึ่งในขนมที่ซื้อไปแจกคนมาร่วมงานเท่านั้นเพราะมันแกะกินง่าย แต่ปรากฎว่าตั้งแต่ก่อนเวลานัดหมายก็มีเจ้าหน้าที่มาตรึงกำลังห้ามไม่ให้จัดงานพวกเธอก็เลยต่อรองกับเจ้าหน้าที่ว่าจะขอแค่กินแซนด์วิชแล้วกลับเพราะเตรียมมาแล้วแต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ยอมจนเกิดภาพที่ลูกเกดเล่าว่า “เจ้าหน้าที่พยายามแย่งแซนด์วิชจากนักศึกษาตัวเล็กๆ” นับตั้งแต่วินาทีนั้นแซนด์วิชก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้คัดค้านการรัฐประหาร “โฆษกของนักกิจกรรมที่ดีที่สุดไม่ใช่โรม ไม่ใช่จ่านิว แต่เป็นคสช.เอง” คำบอกเล่าของลูกเกดดูจะอธิบายความผลิกผันที่ทำให้แซนด์วิชเปลี่ยนจาก “ของกินเล่น” มาเป็น “สัญลักษณ์” ที่มีความหมายทางการเมืองได้ดีที่สุด

ลูกเกดและเพื่อนๆตัดสินใจพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการจัดกิจกรรมที่ใช้แซนด์วิชเป็นสัญลักษณ์โดยตรง“ไม่อะไรมว๊าก อยากกินแซนด์วิช”  ในวันที่ 22 มิถุนายน 2557 ที่ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน การจัดกิจกรรมครั้งนั้นส่งผลให้นักศึกษารวมเก้าคนถูกพาตัวไปปรับทัศนคติที่ค่ายทหารรวมทั้งตัวของลูกเกดด้วย

More on Thailand

Thailand in 2018: no neat exit strategy for junta

The status quo isn't sustainable, but none of the likely exit strategies for the junta will give it what it wants.

A year after referendum, only bad news about Thailand’s constitution

The new constitution leaves booby traps for any incoming civilian government.